Page 64 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
P. 64

3-8





                                (4)  กลุ่มชุดดินที่เป็นดินร่วนหยาบลึกถึงลึกมาก เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่

                  ของหินต้นก้าเนิดชนิดต่าง ๆ แล้วถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของหินเนื้อหยาบ ทั้งหินอัคนี

                  หรือหินตะกอน หรือมาจากวัตถุต้นก้าเนิดดินพวกตะกอนล้าน้้า บริเวณพื้นที่ดอน ที่มีพื้นที่ราบเรียบ
                  หรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด เป็นกลุ่มดินลึก ที่มีการระบายน้้าดี เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย

                  สีดินเป็นสีน้้าตาล สีเหลืองหรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้า ปฏิกิริยาดินเป็นกรด

                  จัดมากถึงกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.5 ปัญหาส้าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                  ได้แก่ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่้า และมีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทะลายของ
                  หน้าดินโดยเฉพาะบริเวณที่มีความลาดชันสูง ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล แบ่งเป็น

                  หน่วยที่ดินต่างๆ คือ

                                    -  หน่วยที่ดินที่ 39 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 616 ไร่

                  หรือร้อยละ 0.05 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                                    -  หน่วยที่ดินที่ 39B สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีเนื้อที่ 3,753 ไร่

                  หรือร้อยละ 0.29 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                -  หน่วยที่ดินที่ 39C สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด มีเนื้อที่ 9,491 ไร่ หรือร้อยละ
                  0.74 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                (5)  กลุ่มชุดดินที่เป็นดินทรายที่มีชั้นดานอินทรีย์ภายในความลึก 100 เซนติเมตร

                  เป็นกลุ่มดินที่พบบริเวณหาดทรายเก่าหรือสันทรายชายทะเลเกิดจากการตะกอนทรายชายทะเล
                  บนพื้นที่ดอนที่มีลักษณะค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นเล็กน้อย เป็นดินค่อนข้างลึกมาก มีการระบายน้้าดี

                  ปานกลาง เนื้อดินเป็นทรายจัด สีดินบนเป็นสีเทาแก่ ใต้ลงไปเป็นชั้นทรายสีขาว ดินล่างเป็นชั้นสะสม

                  ของพวกอินทรียวัตถุ เหล็กหรือฮิวมัส สีน้้าตาล สีแดง ชั้นเหล่านี้มีการอัดตัวแน่นเป็นชั้นดาน มีความ
                  อุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรด

                  เป็นด่างประมาณ 4.5-6.0 ปัญหาส้าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายจัด และ

                  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่้า พืชมักแสดงอาการขาดธาตุอาหารให้เห็น ในช่วงฤดูแล้งชั้นดานจะแห้ง

                  และแข็งมาก รากพืชไม่สามารถไชชอนผ่านไปได้ ส่วนในช่วงฤดูฝนจะเปียกแฉะและมีน้้าแช่ขัง
                  ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวเป็นป่าเสม็ด ป่าชายหาดป่าละเมาะ บางแห่งใช้ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น

                  แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ

                                     -  หน่วยที่ดินที่ 42 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 689 ไร่
                  หรือร้อยละ 0.05 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                    - หน่วยที่ดินที่ 42b สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการปั้นคันนา

                  เพื่อปลูกข้าว มีเนื้อที่ 117 ไร่ หรือร้อยละ 0.05 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา






                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69