Page 57 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
P. 57

3-1






                                                         บทที่ 3

                                        การวิเคราะห์เพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดิน


                  3.1   การวิเคราะห์ด้านกายภาพ


                        3.1.1  ทรัพยากรที่ดิน
                            สถานภาพทรัพยากรที่ดินปัจจุบันของลุ่มน้้าสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง มีเนื้อที่

                  ทั้งหมด 1,285,312 ไร่ เป็นที่ลุ่มมีศักยภาพในการท้านา  55,068 ไร่ หรือร้อยละ 4.29 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                  เป็นที่ดอนมีศักยภาพในการปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น หรือทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์  459,669 ไร่ หรือร้อยละ
                  35.75 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อนหรือพื้นที่ภูเขาที่ต้องอนุรักษ์ไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้

                  309,009 ไร่ หรือร้อยละ 24.04 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา  เป็นพื้นที่อื่นๆ ที่มิใช่พื้นที่การเกษตร เช่น ที่ดิน

                  ดัดแปลง พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้้า ดินตะกอนชะวากทะเลปะปนกัน บ่อขุด พื้นที่น้้า และชุมชน รวมกันอีก

                  ประมาณ 461,566 ไร่ หรือร้อยละ 35.92 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา ในสภาพปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2552) พื้นที่ถูกใช้ใน
                  การท้านา  44,645 ไร่ หรือร้อยละ 3.48 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา เมื่อน้าพื้นที่ลุ่มที่มีศักยภาพเหมาะสมใน

                  การท้านาเปรียบเทียบกับพื้นที่ท้านาจริงพบว่า พื้นที่ท้านาจริงมีน้อยกว่าพื้นที่มีศักยภาพท้านา 10,423 ไร่

                  แสดงว่ามีการท้านาบนพื้นที่ดอน สังเกตได้จากการปั้นคันนาบนพื้นที่ดอนเพื่อปลูกข้าว คือ หน่วยที่ดินที่
                  26b 26gmb 32b  32gmb 34b 34Bb  42b 43b 45b 45Bb  53Bb และ 60b จากสภาพการใช้ที่ดินที่

                  เป็นอยู่ก่อให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินในระดับน้อย ปานกลาง รุนแรง รุนแรงมาก และรุนแรง

                  มากที่สุด มีเนื้อที่ร้อยละ 67.04 24.18 3.98 0.17 และ 4.63 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา ตามล้าดับ

                             จากการส้ารวจดินในระดับค่อนข้างละเอียด ที่ระดับมาตราส่วน 1:25,000 สามารถน้าข้อมูล
                  มาวิเคราะห์ และจัดท้าหน่วยที่ดิน โดยแยกเป็นหน่วยที่ดินเดี่ยว ประกอบไปด้วย หน่วยที่ดินที่  5  5I 5M

                  6 6I 6M 6MI 7 7I 7M 7MI 10 14 14I 14M 14MI 23  23M 25 25I 25M 25MI 26 26b 26B 26C 26gm 26gmb

                  32 32b 32gm 32gmb 34 34b 34B  34Bb 34C 34gm  34gmB  39 39B  39C 42 42b 43 43b 45 45b 45B 45Bb
                  45C  45D  45gm 45gmB 50B 50C 50D  51B  51C 51D  51E  53  53B  53Bb 53C 60 60b  และ 62

                  และหน่วยเบ็ดเตล็ด ได้แก่ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้้า  (AQ)  ดินตะกอนชะวากทะเลปะปนกัน (EC)

                  ที่ดินดัดแปลง (ML) บ่อขุด (P) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง (U) และ พื้นที่น้้า (W) เป็นต้น จากหน่วยที่ดิน
                  ดังกล่าว ข้างต้นได้อธิบายรายละเอียดของหน่วยที่ดิน โดยแบ่งเป็นดินที่ลุ่ม ดินในที่ดอน และหน่วย

                  เบ็ดเตล็ด (ตารางที่ 3-1 และรูปที่ 3-1) โดยได้สรุปสถานภาพทรัพยากรดิน ดังตารางที่ 3-2 รายละเอียดต่างๆ

                  มีดังนี้









                  แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62