Page 65 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
P. 65

3-9





                                (6)  กลุ่มชุดดินที่เป็นดินทรายลึกมาก เป็นกลุ่มดินที่พบในเขตฝนตกชุก หรือ

                  บริเวณชายฝั่งทะเล เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของ

                  หินเนื้อหยาบ หรือจากตะกอนทรายชายทะเล บนพื้นที่ดอน บริเวณหาดทราย สันทรายชายทะเลหรือ
                  บริเวณที่ลาดเชิงเขา สภาพพื้นที่เป็นกลุ่มดินลึก มีการระบายน้้าค่อนข้างมากเกินไป เนื้อดินเป็นดินทราย

                  ปนดินร่วนหรือดินทราย ดินมีสีเทา สีน้้าตาลอ่อน  หรือเหลือง ถ้าพบบริเวณสันทรายชายทะเลจะมี

                  เปลือกหอยปะปนอยู่ในเนื้อดิน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึง

                  เป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5-7.0 แต่ถ้ามีเปลือกหอยปะปนจะมีปฏิกิริยาเป็นด่าง
                  ปานกลาง ปัญหาส้าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เนื้อดินเป็นทรายจัด ท้าให้มีความสามารถใน

                  การอุ้มน้้าได้น้อย พืชจะแสดงอาการขาดน้้าเมื่อฝนทิ้งช่วง นอกจากนี้ดินยังมีความอุดมสมบูรณ์ต่้า

                  ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกไม้ยืนต้น และไม้ผล บางแห่งเป็นป่าละเมาะหรือทุ่งหญ้าธรรมชาติ

                  แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ
                                     -  หน่วยที่ดินที่ 43 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 6,547 ไร่

                  หรือร้อยละ 0.51 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                    -  หน่วยที่ดินที่  43b สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการปั้นคันนา
                  เพื่อปลูกข้าว มีเนื้อที่ 6,202 ไร่ หรือร้อยละ 0.48 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                (7)  กลุ่มชุดดินที่เป็นดินตื้นถึงลูกรังเศษหินหรือก้อนหิน เป็นกลุ่มดินที่พบในเขต

                  ฝนตกชุก เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของหินเนื้อละเอียด
                  หรือจากวัตถุต้นก้าเนิดดินพวกตะกอนล้าน้้า บนพื้นที่ดอน สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ

                  ถึงลูกคลื่นลอนลาด เป็นกลุ่มดินตื้น มีการระบายน้้าดีปานกลาง เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินร่วนที่

                  มีกรวดหรือลูกรังปะปนเป็นปริมาณมาก กรวดส่วนใหญ่เป็นพวกหินกลมมน หรือเศษหินที่มีเหล็กเคลือบ สี
                  ดินเป็นสีน้้าตาลอ่อน  สีเหลืองหรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด

                  มากถึงกรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรด-ด่างดินบนอยู่ระหว่าง 5.0-6.0 ค่าความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก

                  ต่้า และความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างต่้า ปัญหาส้าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดินของหน่วยแผนที่นี้ได้แก่

                  เป็นดินตื้น มีความอุดมสมบูรณ์ต่้า บริเวณที่มีความลาดชันสูงจะมีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
                  ได้ง่าย  ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกยางพารา กาแฟ ปาล์มน้้ามัน มะพร้าว หรือไม้ผลบางชนิด เช่น เงาะ

                  มังคุด บางแห่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่าหรือทุ่งหญ้าธรรมชาติ แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ

                                    - หน่วยที่ดินที่ 45 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 9,748 ไร่ หรือ
                  ร้อยละ 0.09 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                    - หน่วยที่ดินที่ 45b สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการปั้นคันนาเพื่อ

                  ปลูกข้าว มีเนื้อที่ 155 ไร่ หรือร้อยละ 0.01 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา






                  แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70