Page 58 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
P. 58

3-2





                             1)  ดินในพื้นที่ลุ่ม ประกอบด้วยหน่วยที่ดินต่างๆ ดังนี้

                            (1)   กลุ่มชุดดินที่เป็นดินเหนียวลึกมาก เป็นกลุ่มดินที่เกิดจากวัตถุต้นก้าเนิดดิน

                  พวกตะกอนล้าน้้า ในบริเวณที่ราบลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีน้้าแช่ขังในช่วง

                  ฤดูฝน เป็นกลุ่มดินลึกที่มีการระบายน้้าเลว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว สีเทาแก่
                  ดินล่างเป็นดินเหนียวสีน้้าตาลอ่อน หรือสีเทา มีจุดประสีน้้าตาล สีเหลือง หรือสีแดงตลอดชั้นดิน มักพบ

                  ก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็กและแมงกานีส ปะปนอยู่ และในชั้นดินล่างลึกๆ อาจพบก้อนปูน ดินมี

                  ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่างปานกลาง  มีค่า
                  ความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.0-8.0 ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ท้านา ข้าวที่ปลูกโดยมาก

                  ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ

                                    - หน่วยที่ดินที่ 5 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ร้อยละ

                  1,440 ไร่ หรือร้อยละ 0.11 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                         -            หน่วยที่ดินที่ 5I สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีระบบชลประทาน

                  มีเนื้อที่ 103 ไร่ หรือร้อยละ 0.01 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                         -            หน่วยที่ดินที่ 5M  สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการดัดแปลง
                  พื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกพืช มีเนื้อที่ 1,243 ไร่ หรือร้อยละ 0.10 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                (2)   กลุ่มชุดดินที่เป็นดินเหนียวลึกมากสีเทา ที่เกิดจากวัตถุต้นก้าเนิดดินพวก

                  ตะกอนล้าน้้า พบในบริเวณพื้นที่ราบตะกอนน้้าพาที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ
                  มีน้้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน การระบายน้้าเลว ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้า ค่าความเป็นกรด-ด่าง

                  ดินบนอยู่ระหว่าง 5.0-6.5 ค่าความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต่้า และความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่

                  เป็นด่างต่้า พบในพื้นที่ลุ่มต่้า มีน้้าไหลบ่าท่วมขังสูงในฤดูฝน ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ท้านา

                  บางพื้นที่มีการยกร่องเพื่อปลูกไม้ยืนต้น เช่น ปาล์มน้้ามัน แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ
                                    -  หน่วยที่ดินที่ 6 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 14,983 ไร่

                  หรือร้อยละ 1.17 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                - หน่วยที่ดินที่ 6I สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีระบบชลประทาน
                  มีเนื้อที่ 3,623 ไร่ หรือร้อยละ 0.28 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                         -            หน่วยที่ดินที่ 6M  สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการดัดแปลง

                  พื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกพืช มีเนื้อที่ 12,443 ไร่ หรือร้อยละ 0.97 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                - หน่วยที่ดินที่ 6MI สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการดัดแปลง
                  พื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกพืช และมีระบบชลประทาน มีเนื้อที่ 5,063 ไร่ หรือร้อยละ 0.39 ของ

                  พื้นที่ลุ่มน้้าสาขา






                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63