Page 16 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองกระทือ ลำดับที่ พช.7 (2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำป่าสักส่วนที่ 3 (รหัส 1205) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12) พื้นที่ดำเนินการบ้านเขารวก หมู่ที่ 8 ตำบลกันจุ และบ้านวังไลย์ หมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 16

7





                  ใช้ที่ดิน หมายถึง การน าที่ดินมาใช้บ าบัดความต้องการของมนุษย์ในด้านต่างๆ เช่น เกษตรกรรม อุตสาหกรรม
                  พาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัย เป็นต้น

                             การจ าแนกดิน (Soil  Classification) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการแจกแจงดินชนิดต่างๆ
                  ออกเป็นหมวดหมู่ในระดับต่างๆ ของความคล้ายคลึงกันของสมบัติของดินและลักษณะการเกิดของดินตาม

                  วัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาดินเป็นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์ คือ  1)  เพื่อรวบรวมความรู้

                  ต่างๆ เกี่ยวกับดิน  2) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับดินมากที่สุดในลักษณะที่จดจ าได้ง่ายที่สุด  3) เพื่อให้ภาพพจน์
                  เชิงโครงสร้างของความเกี่ยวพันกันของดินที่จะท าให้สามารถสื่อความหมายกันได้   4)  เพื่อชี้ให้เห็นหรือแสดง

                  ความสัมพันธ์ของดินต่างๆ และชั้นต่างๆ ในกลุ่มของดินทั้งหมด  5) เพื่อแสดงให้เห็นและให้เรียนรู้เกี่ยวกับ

                  ความสัมพันธ์ใหม่ๆ หลักการใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยได้มีความรู้มาก่อนเกี่ยวกับดิน  6) เพื่อก าหนดกลุ่มหรือชั้นต่างๆ
                  ที่จะสามารถใช้เป็นหลักในการวิจัยและทดลอง หรือการวางแผนการวิจัยในการศึกษาเรื่องดิน  7) เพื่อแจกแจง

                  ดินออกเป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่อย่างมีเหตุผลในเชิงการใช้ด้านต่างๆ เช่น เพื่อท านายพฤติกรรม เพื่อหาวิธีการ
                  ที่ดีที่สุดในการใช้ดิน เพื่อประมาณความสามารถในเชิงการผลิตของดิน เพื่อแจกแจงปัญหาชนิดต่างๆ ที่มี

                  โอกาสเกิดขึ้นและหลักการพื้นฐานในการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ดิน และเพื่อให้แนวทางหรือสื่อที่
                  ช่วยในการถ่ายทอดข้อสนเทศและเทคโนโลยี

                                ในปัจจุบันมีระบบการจ าแนกดินที่แพร่หลายในเขตต่างๆของโลกหลายระบบ (Buol  et

                  al., 1989; Fanning and Fanning, 1989 ส่วนใหญ่มีผู้ใช้เป็นกลุ่มที่ค่อนข้างจ ากัด ซึ่งจะเห็นได้ว่าในทวีป
                  ยุโรปมีระบบการจ าแนกดินแตกต่างกันมากที่สุด แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของการจ าแนกดินที่มีผู้ให้ความ

                  สนใจในงานด้านนี้มาก และต่างก็มีแนวความคิดเป็นของตนเองมาโดยตลอดเป็นเวลาอันยาวนาน ซึ่งระบบที่

                  เป็นที่ยอมรับกันว่าในสมัยหนึ่งมีผู้ใช้มากที่สุดคือ ระบบการจ าแนกดินของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา
                  (United  States  Department  of  Agriculture)  ที่เสนอต่อสภาวิทยาศาสตร์ทางดินของโลกในปี

                  ค.ศ. 1938 ที่รู้จักกันในชื่อว่า USDA 1938 (Baldwin et al., 1938) แต่ในปัจจุบันระบบที่อยู่ในความสนใจ
                  ของประเทศต่างๆในโลก คือ ระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy)  ของสหรัฐอเมริกา (Soil  Survey

                  Staff,  1975,  1996,  1998)  และหน่วยดินของแผนที่ดินทั่วโลกที่จัดท าขึ้นโดยองค์การอาหารและเกษตร
                  แห่งสหประชาชาติ (FAO/Unesco Soil Map of the World) ในปี ค.ศ. 1974 และแก้ไขเมื่อ ค.ศ. 1990

                  ในระดับมาตราส่วน 1:5,000,000 ส่วนระบบอื่นๆนั้น พบว่ามีการใช้แพร่หลายน้อยกว่า

                                พัฒนาการเกี่ยวกับการจ าแนกดินในประเทศไทยเริ่มมาจากนักวิชาการดินอเมริกัน
                  เพราะฉะนั้นระบบการจ าแนกดินที่ใช้จะเป็นระบบของสหรัฐอเมริกามาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยของระบบ

                  USDA  1938 และได้มีการดัดแปลงตามข้อมูลใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นในการปรับปรุงการจ าแนกดินในเขตเอเชีย

                  ตะวันออกเฉียงใต้ (Dudal and Moormann, 1964) ซึ่งใช้หน่วยการจ าแนกเป็น กลุ่มดินหลัก (great soil
                  group)  เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 (ค.ศ.1976) การจ าแนกดินในประเทศไทย ได้ปรับมาใช้อนุกรมวิธานดิน

                  อย่างกว้างขวางจนปัจจุบัน (เอิบ, 2548)
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21