Page 19 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองกระทือ ลำดับที่ พช.7 (2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำป่าสักส่วนที่ 3 (รหัส 1205) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12) พื้นที่ดำเนินการบ้านเขารวก หมู่ที่ 8 ตำบลกันจุ และบ้านวังไลย์ หมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 19

10





                  (กรมพัฒนาที่ดิน ใช้ 1:100,000) และขนาดพื้นที่ขั้นต่ าสุดที่สามารถเขียนขอบเขตลงในแผนที่ได้มีพิสัย
                  ระหว่าง 25-100 เฮกตาร์ (156 ถึง 625 ไร่)
                                   แผนที่พื้นฐานในการพิมพ์ใช้แผนที่สภาพภูมิประเทศที่มีความแน่นอน หรือโมเสกของ

                  ภาพถ่ายทางอากาศ ส่วนแผนที่พื้นฐานที่ใช้ในการออกส ารวจส่วนใหญ่จะใช้ภาพถ่ายทางอากาศที่ใหม่ๆ
                                6) การส ารวจดินและแผนที่ดินหยาบ (Reconnaissance Soil Surveys and Soil Maps)

                  การส ารวจดินแบบนี้เป็นการส ารวจดินเพื่อรวบรวมข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ ชนิด ลักษณะ และการแจกกระจาย

                  เชิงภูมิศาสตร์ของดินต่างๆ ในบริเวณที่กว้างขวาง หน่วยของแผนที่ดินจะใช้หน่วยในขั้นการจ าแนกระดับสูง
                  เช่น กลุ่มดินใหญ่ หรือกลุ่มดินหลัก หรือหน่วยดินสัมพันธ์ ของหน่วยในขั้นจ าแนกดินดังกล่าวและหน่วย

                  อื่นๆ เช่น ชุดดิน วงศ์ดิน กลุ่มดินย่อยและประเภทที่ดิน (land  types)  ความหนาแน่นในการเจาะตรวจ
                  สมบัติของดินในสนามใช้ 1 หลุมต่อพื้นที่ 12.5 ตารางกิโลเมตร แผนที่ดินแบบนี้จะแสดงถึงความสัมพันธ์เชิง

                  ภูมิศาสตร์กว้างๆ ระหว่างดิน ซึ่งแสดงความแตกต่างกันระหว่างภูมิภาค เพราะฉะนั้นจะเหมาะต่อการใช้วาง

                  แผนการพัฒนาระดับภาคและประเทศ และจะมีข้อมูลแสดงถึงบริเวณต่างๆ ที่สมควรจ าท าการส ารวจขั้น
                  ละเอียดต่อไป

                                   มาตราส่วนของแผนที่พื้นฐาน มีพิสัยของมาตราส่วน 1:75,000  ถึง 1:200,000  และ
                  มาตราส่วนในการพิมพ์แผนที่ มีพิสัยระหว่าง 1:100,00 ถึง 1:500,000 ขนาดของพื้นที่ขั้นต่ า ที่สามารถลง

                  ขอบเขตได้ในแผนที่ มีพิสัยระหว่าง 100 ถึง 2,500 เฮกตาร์ (625 ถึง 15,625 ไร่)

                                   แผนที่สภาพภูมิประเทศที่มีความแน่นอน และโมเสกของภาพถ่ายทางอากาศ ใช้เป็น
                  แผนที่พื้นฐานได้ทั้งเพื่อการพิมพ์แผนที่  และการออกศึกษาภาคสนาม และในบริเวณเริ่มต้นการส ารวจที่มี

                  ลักษณะของสภาพภูมิประเทศเป็นตัวแทนพอ อาจใช้ภาพถ่ายทางอากาศมาตราส่วนใหญ่ประกอบ เพื่อ
                  ประโยชน์ในการก าหนดหน่วยแผนที่ดินต่างๆ

                                7) การส ารวจดินและแผนที่ดินหยาบมาก (Exploratory Soil Surveys and Soil Maps)

                  การส ารวจดินแบบนี้ เป็นการส ารวจดินที่มีการออกตรวจลักษณะดินภาคสนามน้อยมาก แต่ทุกจุดที่มีการ
                  ตรวจสอบในสนาม จะต้องลงต าแหน่งไว้ในแผนที่ และแผนที่พื้นฐานในการส ารวจ ควรมีมาตราส่วนอยู่ใน

                  พิสัย 1:100,000  ถึง 1:250,000  แต่มาตราส่วนในการพิมพ์แผนที่ จะแตกต่างกันได้มากตั้งแต่ 1:250,000
                  ถึง 1:1,000,000 ขนาดพื้นที่ต่ าสุด ที่ลงในขอบเขตของพื้นที่ มีพิสัยอยู่ในช่วง 625 ถึง 10,000 เฮกตาร์ และ

                  ในบริเวณที่ไม่มีการตรวจลักษณะของดินในสนาม จะใช้การแปลความหมายจากข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ใน

                  การท าแผนที่ดิน โดยวิธีการส ารวจแบบนี้ จะใช้ข้อมูลต่างๆทางสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ ดิน พืช
                  พรรณ และธรณีวิทยา ที่มีอยู่แล้วเข้าช่วยประกอบ เพื่อก าหนดขอบเขตของหน่วยแผนที่ดินและใช้แผนที่

                  สภาพภูมิประเทศเป็นหลัก
                                   การส ารวจดินและแผนที่ดินแบบกว้าง (Synthesis  or  Schematic  Soil  Surveys

                  and Soil Maps) การส ารวจดินแบบนี้ปกติจะไม่มีการตรวจสอบลักษณะดินในสนามเอง หน่วยแผนที่และ

                  ขอบเขตของหน่วยแผนที่ดินทั้งหมด จะเขียนจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว และแผนที่ที่มีอยู่แล้ว มาตราส่วนในการ
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24