Page 15 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองกระทือ ลำดับที่ พช.7 (2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำป่าสักส่วนที่ 3 (รหัส 1205) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12) พื้นที่ดำเนินการบ้านเขารวก หมู่ที่ 8 ตำบลกันจุ และบ้านวังไลย์ หมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 15

6





                  การจัดตัว และโครงสร้างทางธรณีวิทยาของหินต่างๆภายในโลก, ธรณีวิทยาพลวัต  ศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุ
                  และกระบวนการต่างๆ ที่ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา และธรณีประวัติ ศึกษาเกี่ยวกับการ

                  ล าดับเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาตามประวัติเหตุการณ์ของโลก (กรมทรัพยากรธรณี, 2552)
                             ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology)  หมายถึง สาขาธรณีวิทยาที่ว่าด้วยพื้นผิวของโลก

                  ซึ่งประมวลเอาทั้งรูปร่างธรรมชาติ กระบวนการก าเนิดและการพัฒนาตัว ตลอดจนความเปลี่ยนแปลง

                  ที่ประสบในปัจจุบัน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2519)  โดยสภาพทางธรณีสัณฐานนับว่าเป็นปัจจัยส าคัญที่
                  ควบคุมการเกิดดินที่ปกคลุมพื้นผิวโลกเพราะกระบวนการเกิด และวิวัฒนาการด้านธรณีวิทยาจะมีส่วน

                  สัมพันธ์กับการพัฒนาการของชั้นดิน ลักษณะดิน และสมบัติของดินที่เกิดบนสัณฐานต่างๆ จึงมีความ

                  แตกต่างกันออกไป และมีผลต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินของมนุษย์เพื่อกิจกรรมต่างๆ สภาพทางธรณีสัณฐาน
                  ยังมีส่วนสัมพันธ์กับระดับน้ าใต้ดิน ความชื้นในดิน การระบายน้ าของดิน ระดับความรุนแรงของการชะล้าง

                  พังทลายของหน้าดิน (อภิศักดิ์, 2541)
                        3.3 ดินและการใช้ที่ดิน

                             ดิน (Soils)  การให้ค านิยามของดินขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษา
                  ดิน การศึกษาดินแบ่งออกได้เป็น 2 แนวทาง (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541) คือ

                                1) ปฐพีวิทยาธรรมชาติ (pedology)  ศึกษาเกี่ยวกับการก าเนิดดิน การจ าแนกและการ

                  ตรวจลักษณะดิน โดยเน้นในสภาพเทหวัตถุธรรมชาติมากกว่าการใช้ที่ดินเพื่อการปลูกพืชแนวทางการศึกษา
                  เช่นนี้ จะเกิดประโยชน์โดยตรงต่อวิศวกรมากกว่าเกษตรกร ดังนั้นในแนวทางนี้ ดินจึงหมายถึง เทหวัตถุ

                  ธรรมชาติ ที่ปกคลุมผิวโลกอยู่บางๆ เกิดขึ้นจากผลของการแปรสภาพหรือผุพังของหินและแร่ และ

                  อินทรียวัตถุผสมคลุกเคล้ากัน
                                2) ปฐพีวิทยาสัมพันธ์ (edaphology)  ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างดินกับสิ่งมีชีวิต

                  โดยเฉพาะพืช การใช้ที่ดินเพื่อการปลูกพืช รวมทั้งสมบัติของดินที่มีผลต่อการให้ผลผลิตของพืช ดังนั้น
                  ความหมายหรือค าจ ากัดความของดิน คือ เทหวัตถุที่เกิดตามธรรมชาติรวมกันขึ้นเป็นชั้น (profile)  จาก

                  ส่วนผสมของแร่ธาตุต่างๆ ที่สลายตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยกับอินทรียวัตถุที่เปื่อยผุพังอยู่รวมกันเป็นชั้นบางๆ
                  ห่อหุ้มผิวโลก และเมื่อมีอากาศและน้ าเป็นปริมาณที่เหมาะสมแล้วจะช่วยค้ าจุนพร้อมทั้งช่วยในการยังชีพ

                  และการเจริญเติบโตของพืช

                             การใช้ที่ดิน (Land  Used) หมายถึง การใช้ที่ดินที่เป็นทรัพยากรขั้นพื้นฐานในการผลิตอาหาร
                  เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ตลอดจนใช้เป็นที่พักผ่อน ที่อยู่อาศัย กักเก็บน้ า หรือใช้ในกิจการอื่นๆ ที่มี

                  ความส าคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์ ทั้งนี้รวมถึงการใช้ที่ดินในปัจจุบันและการใช้ที่ดินในอนาคต

                  ด้วย (วิโรจ, 2531) ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ (2538) ให้ความหมายไว้ว่า การใช้ที่ดินเป็นกิจกรรมของมนุษย์บน
                  พื้นดินและสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ทั้งนี้รวมถึงสิ่งปกคลุมดินเพื่อที่จะสามารถ   จัดจ าแนกพื้นที่ได้ทั้งหมด

                  โดยทั่วไปแล้วล าดับชั้นและสิ่งปกคลุมดินมีด้วยกัน 3 ลักษณะ คือ โครงสร้าง    ทางกายภาพที่มนุษย์สร้าง
                  ขึ้น ปรากฏการณ์ทางชีวภาพและการพัฒนาทุกประเภท ดรรชนี (2531) และสถิตย์ (2521) ได้กล่าวไว้ว่า การ
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20