Page 21 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองกระทือ ลำดับที่ พช.7 (2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำป่าสักส่วนที่ 3 (รหัส 1205) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12) พื้นที่ดำเนินการบ้านเขารวก หมู่ที่ 8 ตำบลกันจุ และบ้านวังไลย์ หมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 21

12





                                   กลุ่มชุดดินแต่ละกลุ่มจะมีลักษณะและสมบัติดินที่เฉพาะตามปัจจัยการเกิดดินและการ
                  สร้างดิน เช่น สภาพภูมิอากาศ ชนิดวัตถุต้นก าเนิดดิน สภาพพื้นที่ ระยะเวลาการพัฒนาของดิน พืชพรรณ

                  ธรรมชาติ สิ่งที่มีชีวิตและการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นต้น (ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2548)
                                   ตัวอย่างการเขียนหน่วยแผนที่กลุ่มชุดดินและค าอธิบายแผนที่กลุ่มชุดดินดังนี้

                                   หน่วยแผนที่ 35 : กลุ่มชุดดินที่ 35 มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์

                                   หน่วยแผนที่ 35B : กลุ่มชุดดินที่ 35 มีความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์
                                   หน่วยแผนที่ 35B/56B  :  หน่วยรวมของกลุ่มชุดดินที่ 35 มีความลาดชัน 2-5

                  เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มชุดดินที่ 56 มีความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วน 50 : 50

                                2) ชุดดิน (Soil  Series)  เป็นหน่วยการจ าแนกดินระดับต่ าสุดในระบบอนุกรมวิธานดินที่
                  อาศัยสมบัติต่างๆ ของดิน เช่น ความหนาของชั้นดิน ความลึกของดิน การจัดเรียงตัวของชั้นดิน โครงสร้าง

                  ของดิน สีดิน เนื้อดิน ปฏิกิริยาดิน อัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน การยืดหดตัว
                  ของดิน ปริมาณคาร์บอเนตและเกลือชนิดต่างๆ ปริมาณอินทรียวัตถุหรือฮิวมัสในดิน เศษหิน ก้อนกรวดหรือ

                  ลูกรัง องค์ประกอบของแร่ในดิน วัตถุต้นก าเนิดดินและสิ่งเจือปนอื่นๆ ในดินเป็นข้อพิจารณา ซึ่งสมบัติต่างๆ
                  เหล่านี้สามารถตรวจสอบได้ในสนาม การให้ชื่อชุดดิน ใช้ชื่อสถานที่ เช่น ชื่อจังหวัด อ าเภอ ต าบล หรือชื่อ

                  ของสถานที่ที่มีลักษณะเด่นเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในพื้นที่ที่พบดินนั้นครั้งแรก (ส่วนมาตรฐานการ

                  ส ารวจจ าแนกดินและที่ดิน, 2547)
                                3) ดินคล้าย (Soil Variants) เป็นหน่วยแผนที่ดินในลักษณะเดียวกับชุดดิน แต่มีลักษณะ

                  เด่นเฉพาะตัวที่แตกต่างและสามารถแยกออกจากชุดดินนั้นๆ ได้ตามระบบการจ าแนกดิน ซึ่งเป็นดินที่พบ

                  ใหม่และได้แสดงไว้เป็นหน่วยแผนที่ดินในมาตราส่วนที่เหมาะสม ระดับการแปลความหมายข้อมูลและการ
                  ใช้ประโยชน์ที่ดินในการส ารวจดินระดับต่างๆ ที่แตกต่างกัน มีเนื้อที่รวมกันมากกว่า 5,000   ไร่

                  (8  ตารางกิโลเมตร) การเรียกชื่อควรใช้ชื่อที่มีลักษณะใกล้เคียงกับชุดดินนั้นมากที่สุด (ส่วนมาตรฐานการ
                  ส ารวจจ าแนกดินและที่ดิน, 2547)

                                4) หน่วยพื นที่เบ็ดเตล็ด (Miscellaneous  Areas)  ได้แก่ พื้นที่บ่อทราย บ่อลูกรัง
                  บ่อเลี้ยงกุ้ง บ่อเลี้ยงปลา แหล่งน้ า ที่อยู่อาศัย และสถานที่ราชการ เป็นต้น

                                5) ประเภทของชุดดินหรือดินคล้าย (Phases of Soil Series or Soil Variants) เป็น

                  หน่วยแผนที่แบ่งย่อยออกไปจากชุดดิน เนื่องจากมีสมบัติดินหลายประการที่สามารถน าไปแปลความหมาย
                  เพื่อการใช้ประโยชน์และการจัดการต่างๆ ของดินได้ ลักษณะหรือสมบัติดินที่น ามาใช้เป็นประเภทของชุด

                  ดินหรือดินคล้าย ได้แก่ เนื้อดินตอนบน (phases of surface texture) ความลาดชันของพื้นที่ (phases of

                  slope) ความลึกของดิน (phases of soil depth) และการกร่อนของดิน (phases of soil erosion) เป็นต้น
                  (ส่วนมาตรฐานการส ารวจจ าแนกดินและที่ดิน, 2547)

                                   5.1) สมบัติของดินที่น ามาใช้เป็นหน่วยแผนที่ในระดับประเภทดิน ประกอบด้วย
                                      (1) ประเภทเนื้อดินบน (Phases of Soil Surface Texture)

                                         (1.1) ประเภทดินบนที่เป็นดินแร่ (Phases of Soil Mineral Surface Texture)
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26