Page 31 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน : กรณีศึกษาการปลูกข้าวโพดหวาน บ้านท่าพยอม ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี
P. 31

19


                                1) ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติต่ า ดินตื้นถึงตื้น
                  มาก พื้นที่ลาดชันดินง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดินและขาดแคลนน้ า

                                2) การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 48
                                        2.1) ปลูกพืชไร่
                                              (1)  ปัญหาดินตื้นมีลูกรังปนและดินมีความชื้นในดินต่ า เพิ่มอินทรียวัตถุใน
                  ดิน ใส่อัตรา 1-3  ตันต่อไร่ หรือปลูกพืชปุ๋ยสดแล้วไถกลบลงดินเมื่อพืชปุ๋ยสดอายุประมาณ 60  วัน ใช้วัสดุ

                  เช่น ฟางข้าว เศษหญ้า ตอ หรืออย่างอื่นคลุมดินระหว่างแถวพืชที่ปลูก การไถเตรียมดิน ควรให้ลึกไม่น้อย
                  กว่า 20  เซนติเมตร  พร้อมกับคลุกเคล้ากับปุ๋ยอินทรีย์หรือวัสดุปรับปรุงดิน พัฒนาแหล่งน้ าเสริมในการ
                  เพาะปลูก เลือกพันธุ์พืชรากตื้นมาปลูก และมีหน้าดินหนาไม่ต่ ากว่า 15 เซนติเมตร
                                              (2)  ปัญหาดินเกิดการชะล้างพังทลาย (โดยเฉพาะชุดดินแม่ริมและท่ายาง

                  ที่มีความลาดเทสูง) ปลูกพืชไร่ตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ ปลูกแถบหญ้า เช่น หญ้าแฝกตาม
                  แนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่เพื่อช่วยชะลอการไหลบ่าของน้ าผิวดิน ปลูกพืชตระกูลถั่วแซมระหว่าง
                  แถวพืชหลักหรือปลูกพืชเหลื่อมฤดู บริเวณที่มีความลาดเทเกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ควรน ามาตรการทางวิธีกลมา
                  ใช้ เช่น คันดิน คันเบนน้ า ทางระบายน้ า บ่อดักตะกอนหรือบ่อน้ าในไร่นา

                                              (3) ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ าหรือเสื่อมลง
                                               (3.1)  ข้าวไร่ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8  อัตรา 20-25  กิโลกรัมต่อไร่
                  ใส่หลังข้าวงอก 20-30 วัน ร่วมกับแอมโมเนียมซัลเฟตหรือแอมโมเนียมคลอไรด์อัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อไร่

                  เป็นการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใส่ระยะประมาณ 30 วันก่อนข้าวออกดอก
                                               (3.2) มันส าปะหลัง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือสูตรอื่นที่มีธาตุอาหาร
                  พืชใกล้เคียงกันอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่รองก้นหลุมก่อนปลูกและครั้งที่สอง
                  โรยข้างต้นเมื่อมันส าปะหลังอายุ 2 เดือน
                                               (3.3)  ข้าวโพด  ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15  หรือสูตรอื่นที่มีธาตุอาหารพืช

                  ใกล้เคียงกัน อัตรา 50-75 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่รองก้นหลุมก่อนปลูกและครั้งที่สองเมื่อ
                  ข้าวโพดสูงประมาณ 40 เซนติเมตร โดยโรยข้างแถวปลูก ห่างแถวข้าวโพดประมาณ 15-20 เซนติเมตร แล้ว
                  พรวนดินกลบ

                                        2.2) ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น
                                              (1)   ปัญหาดินตื้นมีลูกรังปนและดินมีความชื้นต่ าในบางช่วง ปฏิบัติ
                  เช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่ การเตรียมหลุมปลูก ควรขุดหลุมปลูกขนาด 75x75x75 เซนติเมตร หรือโตกว่า
                  แล้วหาหน้าดินหรือดินจากที่อื่นมาคลุกเคล้ากับปุ๋ยอินทรีย์อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อหลุม เสร็จแล้ว

                  ใส่ลงไปในหลุมปลูกให้เต็มก่อนที่จะปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น
                                              (2)  ปัญหาดินเกิดการชะล้างพังทลายปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกไม้ผลใน
                  กลุ่มชุดดินที่ 47
                                               (2.1)  มะม่วงหิมพานต์  ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัตรา

                  50-100 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 300-800 กรัมต่อต้น เมื่ออายุ 1-2 ปี และใส่
                  อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น เมื่ออายุ 3 ปี อายุ 4-6 ปี ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1.5-5 กิโลกรัมต่อต้น อายุ
                  7 ปีขึ้นไป ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อต้น
                                               (2.2)  ยูคาลิปตัส  ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15  หรือสูตรอื่นที่มีธาตุอาหาร

                  พืชใกล้เคียงกัน ดังนี้ ครั้งแรกใส่อัตรา 50 กรัมต่อต้น รองก้นหลุมก่อนปลูก ครั้งที่สองใส่อัตรา 50 กรัมต่อ
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36