Page 36 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน : กรณีศึกษาการปลูกข้าวโพดหวาน บ้านท่าพยอม ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี
P. 36
24
2.6 การวิเคราะห์สภาพพื้นที่ (Swot Analysis) ต าบลหนองไผ่
2.6.1 เขตปลูกพืชไร่
มีเนื้อที่ 9,063 ไร่ หรือร้อยละ 26.85 สภาพพื้นที่ในเขตนี้ค่อนข้างเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ดินที่
พบเป็นดินลึก มีการระบายน้ าดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติระดับปานกลาง พื้นที่เขตนี้ก าหนดให้
เป็นเขตเกษตรกรรมเพื่อการปลูกพืชไร่หรือไม้ยืนต้น พื้นที่เขตนี้ก าหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรมเพื่อการปลูก
พืชไร่ที่อาศัยน้ าฝนเป็นหลัก และถ้าในอนาคตมีการพัฒนาแหล่งน้ า เกษตรกรสามารถสามารถเปลี่ยนการใช้
ที่ดินจากการปลูกพืชไร่มาเป็นการปลูกไม้ผลหรือพืชผักได้
2.6.2 ข้อเสนอแนะในการใช้พื้นที่
1) ควรเร่งรัดพัฒนาระบบชลประทานเพื่อปรับรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินจากการปลูก
พืชล้มลุกมาเป็นการปลูกไม้ผลหรือพืชผัก
2) ด าเนินการจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่เขตนี้ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการใช้
ที่ดินเพื่อการปลูกพืชไร่ เพราะลักษณะการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยมีการไถพรวนเตรียมพื้นที่ทุกปี
มีแนวโน้มของการเกิดการชะล้างผิวหน้าดินได้สูงในช่วงต้นฤดูฝน ซึ่งไม่มีพืชปกคลุมผิวหน้าดิน ระบบ
อนุรักษ์ดินและน้ าสามารถเลือกปฏิบัติได้ทั้งการใช้ระบบพืช เช่น การปลูกพืชขวางแนวความลาดชัน
การปลูกพืชสลับแถว และการปลูกหญ้าแฝกขวางแนวความลาดชัน แต่บริเวณที่มีความลาดชันสูงอาจต้อง
ใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าเชิงกล เช่น ท าคันดินขวางแนวความลาดชัน การท าทางระบายน้ าออกจาก
พื้นที่ และสามารถท าร่วมกับการอนุรักษ์ดินและน้ าแบบระบบพืชได้ด้วย
3) ควรท าการเพาะปลูกพืชในช่วงระยะเวลาที่ดินมีความชื้นที่เหมาะส าหรับพืช
4) ปรับปรุงคุณภาพของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และลักษณะทางกายภาพของดินที่
เหมาะสมส าหรับการปลูกพืชโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ เช่น ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอกซึ่งช่วยในการปรับปรุง
โครงสร้างของดินให้ดีขึ้น
5) ด าเนินการพัฒนาแหล่น้ าขนาดเล็กในพื้นที่เขตนี้ รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพ
แหล่งน้ าตามธรรมชาติ เช่น เหมือง ฝาย ล าคลองสาธารณะให้มีการกักเก็บน้ าได้ดีขึ้น
2.6.3 ศักยภาพของพื้นที่
ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์สภาพในพื้นที่ของต าบลที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อน รวมทั้งปัจจัย
ภายนอกที่เป็นโอกาสและข้อจ ากัดในการพัฒนาด้านต่างๆ ข้อมูลที่ศึกษาได้จากข้อมูลปฐมภูมิที่ส ารวจใน
พื้นที่ ประกอบกับข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นโยบายของรัฐดับต่างๆแผนพัฒนา
จังหวัด แผนพัฒนาการเกษตรระดับต าบล แผนพัฒนา 3 ปี องค์การบริหารส่วนต าบล แผนงานและ
โครงการต่างๆ เป็นต้น ได้ผลการศึกษาดังนี้
1) จุดแข็ง
1.1) สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมกับการท าพืชไร่
1.2) มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและมีการร่วมกลุ่มอาชีพต่างๆของประชาชน
1.3) ผู้น าท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง
1.4) ประชาชนมีความตื่นตัวกับการเข้ามีส่วนร่วมโครงการกิจกรรมขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น