Page 32 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน : กรณีศึกษาการปลูกข้าวโพดหวาน บ้านท่าพยอม ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี
P. 32

20


                  ต้น โรยรอบโคนต้นหลังปลูก 15 วัน ครั้งที่สามใส่อัตรา 50 กรัมต่อต้น โรยรอบโคนต้นตอนปลายฝน เมื่อ
                  อายุ 2-4 ปี ให้ใส่ครั้งละ 50 กรัมต่อต้น ในต้นและปลายฤดูฝน


                         2.4.5 กลุ่มชุดดินที่ 56
                         เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนละเอียดลึกปานกลางถึงชั้นดินที่มีเศษหินปริมาณมากกว่าร้อยละ 35  โดย
                  ปริมาตร หรือชั้นหินพื้นผุภายในช่วงความลึก 50-100 เซนติเมตรจากผิวดิน เกิดจากการสลายตัวผุพังของ

                  หินเนื้อหยาบ มีการพัฒนาการของดินมานาน พบในพื้นที่ดอนที่ดินมีความชื้นแห้งติดต่อกันนาน สภาพพื้นที่
                  เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงเป็นลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 2-20 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ าดีหรือดี
                  ปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินประมาณ
                  5.0-6.0 และความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติต่ า
                         ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ าตาลปนเทา สีน้ าตาลหรือสีน้ าตาลปนแดง ปฏิกิริยาดิน

                  เป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินประมาณ 5.5-6.5  ดินล่างมีเนื้อดินเป็น
                  ดินร่วนเหนียวปนทราย สีน้ าตาล สีน้ าตาลปนแดงหรือสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด
                  มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินประมาณ 5.0-5.5 พบชั้นดินที่มีเศษหินปริมาณมากกว่าร้อยละ 35 โดย

                  ปริมาตร หรือพบชั้นหินพื้นภายในช่วงความลึก 50-100 เซนติเมตรจากผิวดิน
                                1) ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า มีเนื้อดินเป็นดินปนทราย
                  พื้นที่ลาดชันดินง่ายมากต่อการถูกชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดิน และขาดแคลนน้ า
                                2) การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 56

                                        2.1) ปลูกพืชไร่
                                              (1)  ปัญหาดินค่อนข้างเป็นทราย มีอินทรีย์วัตถุและความชื้นในดินต่ า
                  เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินโดยหว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัตรา 1-3  ตันต่อไร่ หรือใช้ปุ๋ยพืชสดโดยหว่านเมล็ด
                  พันธุ์พืชปุ๋ยสดตระกูลถั่ว ได้แก่  โสนอัฟริกัน ปอเทืองหรือปอเทืองเตี้ย ถั่วพร้าหรือถั่วพุ่มอัตราเมล็ดพันธุ์

                  5  กิโลกรัมต่อไร่ ควรหว่านรอฝนหรือต้นฤดูฝนกลางเดือนเมษายนหรือต้นเดือนพฤษภาคม เมื่อพืชปุ๋ยสด
                  ออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์  หรืออายุ 60  วัน จึงท าการไถกลบหรือสับกลบลงดินก่อนปลูกพืช ดินเกิดการชะ
                  ล้างพังทลาย ปลูกพืชไร่ตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่หรือใช้ระบบการปลูกพืชโดยปลูกพืช
                  ตระกูลถั่วหมุนเวียน หรือแซมในระหว่างแถวของพืชหลัก

                                              (2) ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า
                                               (2.1) ข้าวไร่ ใส่ปุ๋ยเคมี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 หรือ
                  สูตรอื่นที่มีธาตุอาหารใกล้เคียงกันอัตรา 20-25  กิโลกรัมต่อไร่ ใส่หลังข้าวงอก 20-30  วัน ครั้งที่สองใส่ปุ๋ย

                  แอมโมเนียมซัลเฟตหรือ แอมโนเนียมคลอไรด์อัตรา 15-30 กิโลกรัมต่อไร่หรือปุ๋ยยูเรีย 7-15 กิโลกรัมต่อไร่
                  ใส่ระยะก าเนิดช่อดอกหรือประมาณ 30 วัน ก่อนข้าวออกดอก
                                               (2.2) มันส าปะหลัง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือสูตรอื่นที่มีธาตุอาหาร
                  พืชใกล้เคียงกันอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่รองก้นหลุมปลูกและครั้งที่สองโรย
                  ข้างต้นเมื่อมันส าปะหลังอายุ 2 เดือน

                                               (2.3) ข้าวโพด ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือสูตรอื่นที่มีธาตุอาหารพืช
                  เท่าเทียมกันอัตรา 50-75 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่โดยใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก และใส่ครั้งที่สองเมื่อข้าวโพดสูง
                  ประมาณ 40 เซนติเมตร ใส่โดยการโรยข้างแถว ห่างแถวข้าวโพดประมาณ 15-20 เซนติเมตร แล้วพรวนดิน

                  กลบโคนต้น
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37