Page 27 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน : กรณีศึกษาการปลูกข้าวโพดหวาน บ้านท่าพยอม ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี
P. 27

15


                                        1.2) ปลูกไม้ผล
                                             (1) ปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่

                  ดินมีธาตุอาหารพืชบางอย่างไม่เพียงพอแก่การเจริญเติบโต เช่น
                                                   (1.1)  มะขามหวานอายุ 1-2  ปี ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 30-50
                  กิโลกรัมต่อต้นต่อปี หรือใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 450 กรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 3 ครั้งๆ ละ 100 150
                  และ 200 กรัมตามล าดับ อายุ 3-5 ปี หรือติดผลแล้วควรใส่ปุ๋ยผสมที่มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง เช่น

                  สูตร 12-12-17  13-13-21  หรือ 14-14-14  อัตราที่ใส่ปีละครึ่งหนึ่งของอายุต้นมะขาม โดยแบ่งใส่ 2  ครั้ง
                  คือ ช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน หว่านให้สม่ าเสมอรอบบริเวณทรงพุ่ม ห่างจากโคนต้นประมาณ 30
                  เซนติเมตร แล้วพรวนดินกลบ อายุเกิน 6 ปีขึ้นไป หรือมะขามติดผลเต็มที่แล้วให้ใส่ปุ๋ย ดังนี้
                                                     (1.1.1)  ระยะพักตัวให้ปุ๋ยทางใบสูตร 11-45-11  หรือ 10-52-17

                  ให้ทุก 2-3 สัปดาห์ เพื่อช่วยให้มะขามออกดอกมาก
                                                     (1.1.2)  ระยะแตกใบอ่อนให้ปุ๋ยทางใบสูตร 11-45-11  หรือ
                  10-52-17 พ่นทุก 7 วัน
                                                     (1.1.3)  ระยะเริ่มออกดอกให้ปุ๋ยทางใบสูตร 11-45-11  หรือ

                  10-52-17 หรือ 15-30-17 ก็ได้
                                                     (1.1.4)  ระยะเริ่มติดฝักพ่นด้วยสารอิมเบลเสลลิน 1  หลอด
                  (50 มิลลิกรัม) ต่อน้ า 100 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

                                                     (1.1.5)  ระยะติดฝักเล็กให้ปุ๋ยทางใบสูตร 30-20-10  อัตรา
                  2-3 ช้อนแกง ต่อน้ า 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน
                                                    (1.1.6)  ระยะฝักขนาดกลางให้ปุ๋ยทางใบสูตรเท่า เช่น 15-15-15
                  หรือ 20-20-20 อัตราที่ใช้ตามค าแนะน าในสลาก
                                                    (1.1.7)  ระยะฝักขนาดใหญ่แล้วให้ปุ๋ยทางใบสูตร 12-22-32  หรือ

                  6-30-30 อัตราที่ใช้ตามค าแนะน าในสลาก
                                4) พืชที่เหมาะสมกับชุดดิน ถั่ว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ล าไย มะขาม

                         2.4.2 กลุ่มชุดดินที่ 33

                         เนื้อดินเป็นพวกดินทรายแป้งละเอียดที่พบบริเวณสันดินริมน้ า ดินลึกมาก เกิดจากการทับถมของ
                  ตะกอนล าน้ าบริเวณสันดินริมน้ าหรือที่ราบตะกอนน้ าพารูปพัด มีการพัฒนาการของดินมานาน พบในพื้นที่
                  ดอนที่ดินมีความชื้นแห้งติดต่อกันนาน สภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย

                  มีความลาดชันน้อยกว่า 5  เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ าดีหรือดีปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรด
                  เล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินประมาณ 5.5-6.5 บางพื้นที่อาจพบเนื้อดินที่มีผงปูนปนอยู่ใน
                  หน้าตัดดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติปานกลาง
                         ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายแป้ง สีน้ าตาลหรือสีน้ าตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดิน
                  เป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินประมาณ 6.0-6.5 ดินล่างมีเนื้อดิน

                  เป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ชั้นดินล่างถัดไปอาจพบดินร่วนปนทราย สีน้ าตาล สีน้ าตาลปนเหลืองหรือสี
                  เหลืองปนน้ าตาล อาจพบจุดประสีภายในความลึก 100 เซนติเมตรจากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึง
                  เป็นกรดเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินประมาณ 5.5-6.5 บางพื้นที่อาจพบเนื้อดินที่มีผงปูนปน

                  อยู่ในหน้าตัดดิน
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32