Page 29 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน : กรณีศึกษาการปลูกข้าวโพดหวาน บ้านท่าพยอม ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี
P. 29
17
(1.2) ลิ้นจี่ พันธุ์ที่แนะน าได้แก่ ฮงฮวย โอเฮียะ กิมเจ็งค่อม หอม
ล าเจียก กะโหลก ใบยาว สาแหรกทอง แห้วส าเภาแก้ว กะโหลกในเตาฯ และแนะน าให้ปลูกเฉพาะ
ภาคเหนือตอนบนที่มีภูมิอากาศเหมาะสม ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมเป็นระยะที่ลิ้นจี่พักตัวเพื่อ
สร้างตาดอกจึงควรมีการงดการให้น้ า ท าการตัดแต่งกิ่ง ท าความสะอาดบริเวณโคนต้น ช่วงปลายเดือน
มกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์จะเริ่มเห็นตาดอกชัดเจน จึงเริ่มให้น้ าโดยค่อยๆ เพิ่มปริมาณจนถึงปกติ เมื่อติด
ผลอ่อนควรมีการใส่ปุ๋ยเพื่อบ ารุงผล โดยใช้ปุ๋ยสูตรเสมอหรือสูตร 12-12-12 อัตราครึ่งหนึ่งของอายุของต้น
ร่วมกับการใส่ปุ๋ยคอก 10-20 กิโลกรัมต่อต้น ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนควรลดการให้น้ าลงก่อน
การเก็บเกี่ยว ช่วงกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคมหลังการเก็บเกี่ยวมีการตัดแต่งกิ่งโดยเร็วและควรใส่ปุ๋ยคอก
บ ารุงต้นถ้าเป็นพวกมูลวัวมูลควายใส่ตามอายุของลิ้นจี่ เช่น อายุ 5-10 ปี ให้ใส่ 5-10 ปี๊บ ถ้าเป็นมูลไก่ควร
ลดเหลือ 50 เปอร์เซ็นต์ หรือถ้าเป็นมูลค้างคาวลดเหลือ 10 เปอร์เซ็นต์
2.4.3 กลุ่มชุดดินที่ 40
เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนหยาบ ดินลึกมาก เกิดจากการทับถมของตะกอนล าน้ าหรือเกิดจากการ
สลายตัวผุพังของหินเนื้อหยาบมีการพัฒนาของดินมานาน พบในพื้นที่ดอนที่ดินมีความชื้นแห้งติดต่อกัน
นาน สภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชันน้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์
การระบายน้ าดีหรือดีปานกลาง
ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน สีน้ าตาล สีน้ าตาลปนเทาหรือสี
น้ าตาลปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินประมาณ
5.0-5.5 ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ชั้นดินล่างถัดไปอาจพบดินร่วนเหนียวปนทราย สีน้ าตาลปน
เหลือง สีน้ าตาล สีน้ าตาลปนแดงหรือสีแดง อาจพบจุดประสีภายในความลึก 100 เซนติเมตรจากผิวดิน
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินประมาณ 4.5-5.5 บางพื้นที่
พบลูกรังหรือก้อนกรวดภายในช่วงความลึก 100-150 เซนติเมตรจากผิวดิน
1) ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติต่ า พื้นที่ลาดชัน
ดินง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดินและขาดแคลนน้ า
2) การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 40
2.1) ปลูกพืชไร่
(1) ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ใช้วัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว หรือ
เศษพืชต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เม็ดฝนที่ตกลงมากระทบผิวดินโดยตรง ไถพรวนดินและปลูกพืชไร่ขวางความ
ลาดเทของพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณที่มีความลาดเทเกิน 5 เปอร์เซ็นต์ สร้างสิ่งกีดขวางทิศทางการไหลของ
น้ าผิวดินเมื่อฝนตกหนัก เช่น คันดิน ร่องระบายน้ า คันเบนน้ า บ่อดักตะกอน หรือบ่อน้ าประจ าไร่นาปลูก
แถบหญ้า เช่น หญ้าแฝกสลับกับพืชที่ปลูกเป็นแถวขวางความลาดเทของพื้นที่
(1.1) ข้าวโพดและข้าวฟ่าง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 14-14-14 หรือ 15-15-15
หรือ 16-16-16 อัตรา 30-40 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-10 อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร
46-0-0 อัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ให้แบ่งครึ่งใส่ ครั้งแรกใส่รองก้นหลุมตอนปลูก ครั้งที่สองโรยสอง
ข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ
(1.3) มันส าปะหลัง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-17 หรือสูตร 13-13-21 หรือ
สูตร 14-14-21 อัตรา 40-50 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ร่วมกับปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 25-35 กิโลกรัมต่อไร่ หรือใส่ปุ๋ย
สูตร 15-15-15 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ หรือใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ เลือกใช้สูตร