Page 32 - เอกสารวิชาการ การใช้อินทรียวัตถุปรับปรุงดินเค็มชายทะเล : เอกสารวิชาการสถาบันวิจัยพัฒนาเพื่อป้องกันการเป็นทะเลทรายและการเตือนภัย เลขที่ 30/02/48
P. 32
24
หนักสดประมาณ 2.5-4 ตันตอไร ใหธาตุไนโตรเจนประมาณ 10-20 กิโลกรัมตอไร หรือมีเปอรเซ็นตไนโตรเจน
ฟอสฟอรัสและโพแตสเซียมประมาณ 2.00-2.95 0.30-0.40 และ 2.20-3.00 เปอรเซ็นตตามลําดับ น้ําหนัก
มวลชีภาพและปริมาณธาตุอาหารขึ้นกับปจจัยของดินและการจัดการ จากผลของการสาธิตและทดสอบการ
ใชถั่วพราเปนปุยพืชสดในพื้นที่นาดอน อําเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม พบวาผลผลิตขาวไดรับเพิ่มขึ้น 55-
70 เปอรเซ็นต (ชุมพลและพรพิไลย, 2538)
3. โสนอินเดีย (Sesbania speciosa) เปนพืชตระกูลถั่วที่มีอายุเพียงปเดียวมีระบบ
รากที่ลึกกวาโสนอัฟริกัน ขึ้นไดทุกสภาพดิน ทนทานตอโรคและแมลง อายุออกดอกประมาณ 90 วัน แมวาจะ
ใหผลผลิตสูง แตจะไถกลบยากเพราะสวนของลําตน กิ่ง กาน จะเหนียว ไมเปราะหักงายเหมือนโสนอัฟริกัน
จึงทําการไถกลบชวงอายุ 60-70 วัน จะใหน้ําหนักสดประมาณ 2-4 ตันตอไร ใหธาตุไนโตรเจนประมาณ 10-
15 กิโลกรัมตอไร หรือมีเปอรเซ็นตธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแตสเซียมเฉลี่ยประมาณ 2.55
0.35 และ 3.63 จากการทดลองเปรียบเทียบผลผลิตขาวระหวางการไมใสปุยและการใชพืชปุยสด คือโสน
อินเดีย ซึ่งมีอัตราสวนระหวางคารบอนและไนโตรเจน 24.2 ทําใหขาวมีผลผลิตสูงคือ 1.25 ตันตอเฮกแตร เมื่อ
เทียบกับวัสดุปรับปรุงดินที่เปนสารอินทรียอื่นๆ (กรมพัฒนาที่ดิน 2542)
4. โสนจีนแดง (Sesbania canabina) นิยมปลูกเพื่อปรับปรุงดินเค็มในประเทศจีน สามารถ
ขึ้นไดในทุกสภาพดิน และอายุออกดอกสั้นประมาณ 30-50 วัน ปลูกเพื่อใชเปนพืชปุยสดในนาขาว อัตรา
เมล็ดที่ใช 5.6 กิโลกรัมตอไร แลวไถกลบโสนจีนแดงที่อายุประมาณ 45-60 วัน จะใหน้ําหนักสดประมาณ 1-2
ตันตอไร ใหธาตุไนโตรเจนประมาณ 10-15 กิโลกรัมตอไร หรือมีเปอรเซ็นตธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
และโพแตสเซียม เฉลี่ยประมาณ 2.25 0.35 และ 2.34 ซึ่งจากการทดลองบนชุดดินทุงกุลารองใหพบวาการใช
โสนอัฟริกัน โสนคางคก โสนอินเดีย และโสนจีนแดง จะชวยเพิ่มไนโตรเจนในดินจาก 0.02 เปอรเซ็นต เปน
0.04 0.10 0.10 และ 0.09 เปอรเซ็นต นอกจากนี้ยังเพิ่มปริมาณฟอสฟอรัสในดินจาก 5 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม
เปน 141 70 69 และ 63 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม ตามลําดับ แตไมคอยนิยมในประเทศไทยเพราะเมื่อเปรียบ
เทียบกับโสนอัฟริกันและอินเดียแลว โสนจีนแดงจะใหน้ําหนักสดที่นอยกวา