Page 10 - เอกสารวิชาการ การใช้อินทรียวัตถุปรับปรุงดินเค็มชายทะเล : เอกสารวิชาการสถาบันวิจัยพัฒนาเพื่อป้องกันการเป็นทะเลทรายและการเตือนภัย เลขที่ 30/02/48
P. 10

2
               สภาพปญหา


                              บริเวณชายฝงทะเลพื้นที่สวนใหญ  จะเปนบริเวณที่ไดรับอิทธิพลจากน้ําทะเลที่ทวมถึงหรือ

               เคยทวมถึงมากอน ในอดีตที่ผานมาการใชประโยชนที่ดินสวนใหญจะเปนปาชายเลน พื้นที่สวนเหลือบริเวณที่
               ลุมและปากน้ําลําคลอง มีการทําการเกษตรกรรม เชน นาขาวทําสวนมะพราวเพื่อทําน้ําตาลและปลูกพืชอายุ

               สั้น นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงกุงทะเลและปลาน้ํากรอย บางแหงที่เปนบริเวณอับฝนจะมีการทํานาเกลือ บริเวณ

               ที่ดอนจะมีการปลูกยางพารา  พืชอุตสาหกรรม  ไมผลและผักตางๆ  สภาพปจจุบัน  การเปลี่ยนแปลงการใช

               ประโยชนที่ดินในระยะ 10 ปที่ผานมา ไดกอใหเกิดผลกระทบมากมายในดานสิ่งแวดลอม ดังนี้


                              1.  ลักษณะดินปาชายเลน  มีสภาพเปยกอยูเสมอ  เพราะไดรับอิทธิพลของน้ําทะเลทวมถึง

               (tidal flat)  ซึ่งจะมีน้ําแชยังอยูตลอดเวลาหรือเกือบตลอดเวลา  เปนดินใหมอายุนอย  การพัฒนาชั้นของดิน
               นอยการเปลี่ยนแปลงของวัตถุหรือสารประกอบตางๆ  ในดินนอย  จึงมีดินเพียง 2  ชั้น  คือ  ชั้น A  และ C  มี

               ลักษณะยังไมเปนดินสุก (Ripening) โดยวัดจากคา N-value บางแหงจะพบสารประกอบไพโรท (FeS ) อยูใน
                                                                                                     2
               ดินลึก 30-100  ซม.  เมื่อดินบริเวณนี้ถูกเปลี่ยนแปลงสภาพเปนนากุงหรือกิจกรรมอื่นๆ  ดินมีสภาพแหงและ

               สัมผัสกับอากาศ ดินจะมีปฏิกิริยาเปนกรดจัด ธาตุตางๆ เชน อลูมินั่ม เหล็ก ที่เปนพิษจะถูกปลดปลอยออกมา

               ทําใหไมสามารถปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตวน้ําได  นอกจากนี้เมื่อดินปาชายเลนถูกเปลี่ยนแปลงใหอยูในสภาพดิน
               สุกแลว เนื้อดินจะแหงและแข็งซึ่งเปนสมบัติทางกายภาพของดินที่ไมเหมาะสมกับปาชายเลน การจะปรับปรุง

               เปลี่ยนแปลงใหมีสภาพปาชายเลนเชนเดิมกระทําไดไมงายนัก

                              2.  ขอจํากัดของดินเค็ม  ไมเหมาะสมกับการเกษตร  ถึงแมวาดินเค็มชายทะเลจะเปนดินที่มี

               ความอุดมสมบูรณสูง ซึ่งความอุดมสมบูรณนั้น ประเมินไดจากคา cation exchange capacity (CEC) หรือ

               ปริมาณประจุบวกของธาตุตางๆ ที่ดูดซับกับอนุภาคของดิน ดินเค็มชายทะเลจะมีคา CEC ประมาณ 20-40
               มิลลิกรัมสมมูลย ตอดิน 100 กรัม แตมีสาเหตุที่ทําใหไมเหมะสมกับการเกษตร ดังนี้

                                     2.1  เปนดินที่มีน้ําทะเลทวมถึงตลอดปน้ําเค็มจึงอยูในระดับเกือบถึงผิวดิน  ดิน

               บริเวณนี้จึงอิ่มตัวดวยน้ํา การปลูกพืชจึงกระทําไดยากหรือไมได

                                     2.2  เนื้อดินเปนดินเหนียวการระบายน้ําเลวและเปนดินเลน  ทําใหไมสามารถใช
               เครื่องจักรกลตางๆ ได จึงทําใหยากในการปรับปรุง

                                     2.3 มีความเค็มของดินสูง พืชเศรษฐกิจไมสามารถขึ้นได ถาจะปลูกพืช ตองลางดิน

               เสียกอนเพื่อใหเกลือลดลงถึงระดับที่พืชทนเค็มจะเจริญเติบโตและใหผลผลิตได

                                     2.4  ดินบางชุดมีสารประกอบไพโรท (FeS)  เมื่อแหงดินไดรับการระบายน้ําและการ
               ถายเทอากาศจะแปรสภาพเปนดินกรดจัด ซึ่งตองแกไขปรับปรุงดวยปูนจึงสามารถปลูกพืชได

                                     2.5 บริเวณพื้นที่ดินเค็มทั่วไปมักขาดน้ําจืดในการลางดินเพื่อใชในการปลูกพืช

                                     2.6 ที่ดินมีราคาสูง การนําที่ดินมาทําการเกษตรมักไมคอยคุมทุน ยกเวนการเกษตร

               ที่ใหผลตอบแทนสูง
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15