Page 9 - เอกสารวิชาการ การใช้อินทรียวัตถุปรับปรุงดินเค็มชายทะเล : เอกสารวิชาการสถาบันวิจัยพัฒนาเพื่อป้องกันการเป็นทะเลทรายและการเตือนภัย เลขที่ 30/02/48
P. 9

1

                                  บทที่ 1  ดินเค็มชายทะเล  (Coastal saline soil)




                      1.1 การเกิดดินเค็มชายทะเล



                                        ในประเทศไทยมีพื้นที่อยูติดกับชายทะเลทั้งหมดมีอยูประมาณ 24  จังหวัดกระจายตามภาค
               ตางๆ  คือภาคใต  ภาคกลางและภาคตะวันออก  จากการสํารวจของกรมพัฒนาที่ดินพบวามีพื้นที่ดินเค็ม

               ประมาณ 3.6  ลานไร  ซึ่งสวนใหญเคยเปนปาชายเลน  แตภายหลังมีการตัดไม  ถางปาเพื่อนํามาใชประโยชน

               ทางเกษตรกรรม เชน เลี้ยงกุง ไมมีการปลูกปาชายเลนเพื่อทดแทน จึงทําใหดินเค็มแพรกระจายเขามาในเขต

               ดานในแผนดิน

                              ดินเค็มชายทะเลเกิดจากอิทธิพลของน้ําทะเลที่ทวมถึงหรือเคยทวมถึงมากอน จะเปนตะกอน
               น้ําทะเลหรือน้ํากรอยเนื่องจากมีเกลือละลายไดอยูหลายชนิด  เกลือสวนใหญไดแก  คลอไรดและซัลเฟตของ

               โซเดียม  แคลเซียมและแมกนีเซียมสะสมอยู  จึงทําใหดินมีความเค็ม  การแพรกระจายของดินเค็มจะแตกตาง

               ไปตามชนิดของดิน  ถาเปนทรายถึงรวนจะแพรกระจายไดรวดเร็วกวาที่เปนดินเหนียว  ตลอดจนการขึ้นลงของ

               น้ําทะเล ปริมาณและการกระจายตัวของน้ําฝน สภาพแวดลอมตางๆก็เกี่ยวของดวยทั้งสิ้น
                              พื้นที่ดินเค็มชายทะเลแบงออกเปน 2 สวนไดแก

                              1.  บริเวณน้ําทะเลทวมถึง (active tidal flat)  สภาพพื้นที่เปนที่ลุมน้ําทะเลทวมถึง  วัตถุตน

               กําเนิดดินเปนตะกอนน้ําทะเลและน้ํากรอย  เนื้อดินผันแปรไปแลวแตพื้นที่  เชน  เปนดินเหนียวหรือดินเหนียว

               ปนทรายแปง
                              เนื้อดินในภาคตะวันออกและภาคใตสวนมากจะเปนเนื้อดินรวนเหนียวปนทรายแปง  ดินรวน

               และอาจเปนดินรวนปนทราย สวนในภาคกลางสวนใหญจะเปนดินเหนียว ดินมีความชื้นของดินและความเค็ม

               สูง  เปนดินที่มีการพัฒนาชั้นดินนอยเนื่องจากมีน้ําแชขังตลอดเวลาเปนดินใหมอายุนอยมีอัตราการสะสมวัตถุ

               มากกวาการสูญเสีย มีชั้นดินที่แบงได 2 ชั้นคือ ชั้น A (A horizon) ซึ่งเปนดินชั้นบนและชั้น C เปนดินชั้นลาง

               ดินชั้น A มีความหนาประมาณ 30 เซนติเมตร ดินมีสีน้ําตาลปนเทาหรือสีน้ําตาล พบจุดประคลายสีสนิมเหล็ก
               กระจายทั่วไป จุดประเปนสารประกอบเหล็กออกไซด (Fe O  , FeO) หรือไฮดรอกไซด (Fe(OH) ) เกิดจากการ
                                                               2 3
                                                                                               3
               ที่เหล็กถูกเติมออกซิเจนในขณะที่ดินแหง  สวนดินชั้น C  เปนดินเลนสีเทาปนน้ําเงิน  พืชพรรณที่พบขึ้นอยู

               บริเวณนี้ไดแก พวกไมชายเลน เชน โกงกาง แสมขาว แสมดํา ลําพู โปรงขาว โปรงแดง ตาตุม ฝาด เปนตน

               การใชประโยชนของพื้นที่บริเวณนี้ไดแก  ปาชายเลน  ทํานากุง  เลี้ยงปลา  บางแหงยกรองปลูกสวนมะพราว
               เปนตน

                              2.   บริเวณที่น้ําทะเลเคยทวมถึง (forมิลลิกรัมสมมูลยr tidal flat)  เกิดจากตะกอนน้ําทะเล

               และตะกอนน้ํากรอยมีความเค็มสูงเปนดินเหนียว  บางแหงอาจพบชั้นของทรายและหอยในดินชั้นลาง  ดินชั้น

               บนมีสีน้ําตาลถึงเทาดํา  การระบายน้ํา  มีความสามารถในการอุมน้ําสูง  ดินบางชุดนํามาใชประโยชนในทาง
               เกษตร  ไมมีปญหาเรื่องความเปนกรด  เชน  ดินชุดสมุทรปราการ  แตดินบางชนิดพบจุดประสีน้ําตาลแดงปน

               เหลืองและสีแดงและสีเหลืองฟางขาว ดินชนิดนี้จะมีปญหาเรื่องความเปนกรดของดิน เชน ชุดดินชะอํา
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14