Page 27 - การประเมินผลสัมฤทธิ์กิจกรรมด้านการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำของกรมพัฒนาที่ดิน ประจำปีงบประมาณ 2566
P. 27
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4) พื นที่ที่มีศักยภาพในการแพร่กระจายดินเค็ม หมายถึง บริเวณที่เป็นที่ดินที่เนิน
มีการปลูกพืชไร่อยู่ ปัจจุบันจะไม่พบคราบเกลือตามผิวดิน แต่ภายใต้ดินมีหินเกลืออยู่ เมื่อมีฝนตก น ้าจากผิวดิน
จะซึมผ่านชั นหินเกลือจะได้น ้าเค็ม ซึ่งจะไหลผ่านชั นใต้ดินออกสู่ที่ลุ่มถัดไป
2.1.3.4 แนวทางการจัดการฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาในพื นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การแก้ไขปัญหาพื นที่ดินเค็มนั น สามารถท้าให้กลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
ได้ตามความเหมาะสมของระดับความเค็มที่เกิดขึ น และสามารถลดระดับความรุนแรงของปัญหาดินเค็มลงได้
โดยจัดการเชิงพื นที่อย่างเป็นระบบ แต่ต้องมีการลงทุนและให้เวลาในการแก้ไขฟื้นฟู ดังนี
1) พื นที่ดินเค็มน้อย-เค็มปานกลาง
ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มใช้ในการปลูกข้าว ในช่วงแล้งจะพบคราบเกลือบนผิวดิน
เป็นหย่อมๆ อย่างไรก็ตามข้าวให้ผลผลิตต่้า ดังนั นก่อนการปลูกข้าวจะต้องมีการจัดการที่ดีทั งดิน น ้า และพืช
คือ ในการเตรียมดินเพื่อปลูกข้าวควรปรับระดับหน้าดินให้มีอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก แกลบ ปุ๋ยพืชสด ใช้พันธุ์ข้าว
ทนเค็ม เช่น ข้าวดอกมะลิ 105 สามารถท้าให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ นโดยเฉลี่ยจาก 10-15 ถัง เป็น 30-50 ถังต่อไร่
ส้าหรับปุ๋ยพืชสดที่กรมพัฒนาที่ดินส่งเสริมให้มีการปลูกเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด
ในพื นที่ดินเค็ม คือ โสนอัฟริกัน เพราะเป็นพืชตระกูลถั่วที่เจริญเติบโตได้ดีในพื นที่ดินเค็ม ให้มวลชีวภาพสูง
มีปมทั งรากและล้าต้น ท้าให้มีประสิทธิภาพในการดึงไนโตรเจนได้ปริมาณสูงกว่าหลังการสับกลบ ส่งผลให้พืช
ที่ปลูกตามมาได้ผลผลิตเพิ่มขึ น โดยแนะน้าให้ปลูกในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์
5 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วสับกลบเมื่อโสนอัฟริกันอายุประมาณ 60 วัน
ในพื นที่ดินเค็มน้อยและเค็มปานกลางที่น ้าไม่ท่วม หรือหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว
มีน ้าเพียงพอ สามารถปรับปรุงบ้ารุงดินแล้วปลูกพืชเศรษฐกิจทนเค็มได้ โดยด้าเนินการดังนี
- ปรับปรุงบ้ารุงดินด้วยอินทรียวัตถุ คือ แกลบ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด
- เลือกปลูกพืชทนเค็มที่เหมาะสมกับระดับความเค็มของดิน เช่น หน่อไม้ฝรั่ง
มะเขือเทศ กุยช่าย แตง แคนตาลูป บร๊อคโคลี่ คะน้า เป็นต้น
- ให้น ้าระบบน ้าหยด จะช่วยควบคุมความชื นดิน ความเค็มดิน และประหยัดน ้าได้ดี
- ควรมีการคลุมดินหลังปลูกเพื่อรักษาความชื นดิน ความเค็มดิน และประหยัดน ้าได้ดี
2) พื นที่ดินเค็มจัด
เป็นบริเวณที่มีคราบเกลือบนผิวดินปริมาณมาก มีน ้าใต้ดินเค็มอยู่ใกล้ผิวดิน มักเป็น
ที่ว่างเปล่าปลูกพืชเศรษฐกิจไม่ได้ พืชทนเค็มจัดเท่านั นที่ขึ นได้ เช่น หนามพุงดอ หนามพรม เป็นต้น แนวทาง
การจัดการเน้นที่การฟื้นฟูแก้ไขสภาพเสื่อมโทรมของพื นที่ดินเค็มจัด ให้เป็นทุ่งหญ้าที่มีต้นไม้ขึ นได้ แนวทาง
การจัดการเป็นดังนี
- ปลูกต้นไม้ทนเค็มจัดและหญ้าชอบเกลือ คือ ในพื นที่ดินเค็มจัดที่น ้าไม่ท่วมขัง
ปลูกต้นกระถินออสเตรเลีย ระยะ 2x2 เมตร ร่วมกับการปลูกหญ้าดิ๊กซี่ ให้เจริญเติบโตคลุมหน้าดิน
ช่วยควบคุมการระเหยของน ้าที่จะพาเกลือมาสะสมบนผิวดิน และเศษซากพืชยังช่วยเติมอินทรียวัตถุลงไปในดิน
ส้าหรับพื นที่ลุ่มน ้าท่วมขังควรท้าร่องระบายน ้าทุกๆ 10 เมตร กรมพัฒนาที่ดินได้ด้าเนินการเห็นเป็นรูปธรรม
แล้วในพื นที่ อ.ขามทะเลสอ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา และ ต.เมืองเพีย อ.ชนบท จ.ขอนแก่น
- การท้าคันดินเพื่อชะล้างเกลือจากชั นหน้าดิน และควบคุมระดับน ้าใต้ดินเค็ม
ท้าให้ความเค็มของดินลดลง เช่น อ.พระยืน จ.ขอนแก่น อ.หนองบ่อ จ.มหาสารคาม