Page 25 - การประเมินผลสัมฤทธิ์กิจกรรมด้านการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำของกรมพัฒนาที่ดิน ประจำปีงบประมาณ 2566
P. 25
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
จะไหลซึมลงไปได้อีก จึงเกิดการไหลบ่าและพัดพา (transportation) ก้อนดินเล็กๆ ที่แตกกระจายอยู่บนผิวดินไป
และการตกตะกอนทับถม (deposition) ในพื นที่ลุ่มต่้า เม็ดดินที่ถูกพัดพาไปกับน ้า ส้าหรับประเทศไทย
ตัวการกัดกร่อนของดินที่ส้าคัญ ได้แก่ การชะล้างพังทลายโดยน ้า และการพังทลายโดยลม
2.1.2.2 สาเหตุของการชะล้างพังทลายของดิน
สาเหตุหลักของการชะล้างพังทลายของดิน มี 2 ประการ คือ
1) การชะล้างพังทลายของดินที่เกิดขึ นเองตามธรรมชาติ (natural erosion or
geologic erosion) โดยมีน ้า ลม และแรงดึงดูดของโลก เป็นตัวการส้าคัญที่ท้าให้เกิดการชะล้างพังทลาย
ของดินแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือเป็นไปอย่างช้าๆ เช่น การชะล้างพังทลายของดินที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง
ของโลก พบในบริเวณที่มีความลาดชันสูง เมื่อมีฝนตกหนักจนดินอิ่มตัว ท้าให้แรงยึดตัวของดินมีน้อยกว่า
แรงโน้มถ่วงของโลก ดินที่อิ่มตัวด้วยน ้าจะเคลื่อนที่จากที่สูงลงสู่ที่ต่้าตามแรงดึงดูดของโลกก่อให้เกิดดินถล่ม
เป็นต้น
2) การชะล้างพังทลายของดินที่มีตัวเร่ง (accelerated or man-made erosion)
โดยมีมนุษย์และสัตว์เป็นตัวการส้าคัญในการเร่งให้เกิดการพังทลายของดิน เช่น การระเบิดภูเขา การสร้างถนน
การตัดไม้ท้าลายป่า การท้าไร่เลื่อนลอย การท้าเหมืองแร่ ซึ่งเป็นการใช้ที่ดินโดยขาดความระมัดระวังหรือใช้
อย่างรุนแรงเกินไปจะส่งผลให้ดินมีการพังทลายมากขึ น
นอกจากนี สาเหตุที่ท้าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน (พิทยากร, 2551) ประกอบด้วย
1) การบุกรุกพื นที่ป่าไม้ เมื่อมีจ้านวนประชากรเพิ่มมากขึ น ความต้องการ
การใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบต่างๆ ก็มากขึ นจนมีผลท้าให้เกิดการบุกรุกท้าลายป่า โดยเฉพาะการบุกรุก
ท้าลายป่าเพื่อน้าพื นที่เหล่านั นมาใช้ท้าการเกษตรเพื่อผลิตอาหารส้าหรับการยังชีพ การเปลี่ยนสภาพป่า
เป็นพื นที่เกษตรโดยไม่มีการบ้ารุงรักษาและป้องกันการชะล้างพังทลายที่ถูกวิธี ส่งผลให้เกิดการชะล้างพังทลาย
และการเสื่อมโทรมของดินและที่ดินอย่างมาก
2) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ลักษณะการถือครองที่ดินกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ของเกษตรกรที่มีน้อยเกินไปจนท้าให้เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ จึงต้องมีการขยายพื นที่
ท้ากินใหม่ ผลที่ตามมาคือ การใช้ที่ดินที่ขาดการบ้ารุงรักษาที่ถูกต้องท้าให้ดินเกิดความเสื่อมโทรม
3) การใช้ประโยชน์ที่ดิน ในพื นที่ที่มีความลาดชัน โดยเกษตรกรมักท้าการเกษตร
ด้วยการไถพรวนขึ นลงตามแนวลาดเทเพื่อปลูกพืช ซึ่งเป็นการเร่งและส่งเสริมให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน
รุนแรงและรวดเร็วมากยิ่งขึ น ประกอบกับการขาดการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
และเหมาะสมกับสภาพพื นที่ ท้าให้เกิดสภาพการชะล้างพังทลายของดินตามไหล่ทางได้ง่าย ซึ่งการก้าหนดพื นที่
หรือการวางแผนเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินด้านต่างๆ เป็นสิ่งจ้าเป็นที่จะต้องใช้ทั งความรู้และบุคลากรในหลายสาขา
วิชาในลักษณะบูรณาการ เพื่อน้ามาประมวลเป็นแนวทางในการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสมกับพื นที่
2.1.3 ข้อมูลเกี่ยวกับดินเค็ม
2.1.3.1 ความหมายของดินเค็ม
ดินเค็ม (saline soil) หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในสารละลายดิน
มากเกินไปมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต การสังเกตโดยดูจาก
คราบเกลือจะเห็นคราบเกลือเป็นหย่อมๆ โดยเฉพาะในฤดูแล้ง ซึ่งอาจรุนแรงถึงท้าให้พืชตายได้ เนื่องจาก