Page 12 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            6








                  30 เซนติเมตร เรียกว่า ไหม (silk) ไหมแต่ละเส้นจะมีขนที่สามารถรับละอองเกสรตัวผู้ได้ตลอดความยาว เส้น
                  ไหมบริเวณโคนฝักจะเกิดขึ้นก่อนตามด้วยส่วนกลางฝัก แต่เส้นไหมบริเวณกลางฝักจะยืดตัวโผล่พ้นกาบหุ้มฝัก
                  ก่อน จึงได้รับการผสมก่อน ทำให้เมล็ดบริเวณกลางฝักมีความสมบูรณ์และขนาดใหญ่กว่าบริเวณโคน และปลาย
                  ฝัก ไหมจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และแห้งเหี่ยวเมื่อดอกได้รับการผสม โดยข้าวโพด 1 ฝัก จะมีไหม 400 - 1,000

                  เส้น ทำให้เกิดเมล็ด 400 - 1,000 เมล็ด
                               ผลและเมล็ด ผลเป็นแบบคาร์ออฟซิส (caryopsis) ที่มีเยื่อหุ้มผล (pericarp) ติดอยู่กับส่วนของ
                  เยื่อหุ้มเมล็ด (seed coat) มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ ใส ไม่มีสี เยื่อหุ้มผล และเยื่อหุ้มเมล็ดรวม (hull) ข้าวโพด
                  จะสะสมแป้งไว้ในส่วนของเอนโดสเปิร์ม ซึ่งการสะสมแป้งจะสิ้นสุดเมื่อข้าวโพดเจริญเติบโตถึงระยะสุกแก่ทาง

                  สรีรวิทยา โดยจะปรากฏแผ่นเยื่อสีดำ หรือน้ำตาลดำ (black layer) ที่บริเวณโคนของเมล็ด
                               ข้าวโพดเป็นพืชที่ถูกจำแนกไว้ในกลุ่มที่มีกระบวนการสังเคราะห์แสงแบบ C4 จึงทำให้อัตราการ
                  สังเคราะห์แสงของข้าวโพดสูง โดยมีจุดคอมเพนเซชันของคาร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide compensation
                  point) ต่ำ และอัตราการสังเคราะห์แสงจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มของแสงจนถึงสภาพที่มีแสงแดดเต็มที่ โดยจะ

                                                                          2
                  ส่งผลให้อัตราการสังเคราะห์แสงของข้าวโพดสูงถึง 60 มก.CO2 /ดม. /ชม. (ยงยุทธ และคณะ, 2551)
                         3.1.2 อิทธิพลของธาตุอาหารต่อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                               ข้าวโพดจะให้ผลผลิตสูงเมื่อได้รับธาตุอาหารอย่างเพียงพอและสมดุล ความต้องการธาตุหลักต่อ

                  การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าวโพด (ยงยุทธ และคณะ, 2551) ได้แก่
                               ไนโตรเจน (N) มีความสำคัญตั้งแต่การเจริญเติบโตของข้าวโพดระยะแรกจนถึงการสร้างเมล็ด โดย
                  ระยะที่ข้าวโพดต้องการธาตุไนโตรเจนมากที่สุด คือ ระยะที่ข้าวโพดออกดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ซึ่งจากผลการ
                  วิเคราะห์พืชทางเคมี พบว่า ในช่วงอายุประมาณ 18 - 30 วัน และ 39 - 65 วัน ข้าวโพดมีการดูดใช้ไนโตรเจนสูงถึง
                  7 และ 50 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ดังนั้นถ้าในช่วงอายุการเจริญเติบโตดังกล่าว มีปริมาณธาตุไนโตรเจนในดินไม่

                  เพียงพอ จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของข้าวโพดได้ (กรมวิชาการเกษตร, 2548)
                               ฟอสฟอรัส (P) ข้าวโพดเป็นพืชที่ตอบสนองต่อปุ๋ยฟอสฟอรัสตลอดฤดูปลูก โดยมีความต้องการ
                  ในระยะเริ่มแรกมากกว่าในระยะอื่น ๆ ส่วนในระยะที่ข้าวโพดออกดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ธาตุฟอสฟอรัสมี

                  บทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสมบูรณ์ให้กับส่วนต้นและเมล็ด นอกจากนี้ยังพบว่า การดูดใช้ธาตุ
                  ฟอสฟอรัสจากดินของรากข้าวโพดจะเพิ่มขึ้นจนกระทั่งรากเจริญเติบโตเต็มที่ (กรมวิชาการเกษตร, 2548)
                  อย่างไรก็ตาม ฟอสฟอรัสเป็นธาตุที่มีปัญหาด้านการขาดแคลนในดินไร่ทั่วไป โดยเฉพาะดินที่มีสภาพเป็นกรด
                  สำหรับอัตราปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ควรใส่ เพื่อยกระดับฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์จากเดิม สู่ระดับที่ข้าวโพดต้องการ

                  พบว่า ระดับวิกฤตของฟอสฟอรัสในดินออกซิโซลส์ จากผลการวิเคราะห์ดินด้วยวิธี Mehlich 1  Bray 1 และ
                  Bray 2 คือ 6  9 และ 10 มิลลิกรัมฟอสฟอรัสต่อกิโลกรัม ตามลำดับ (ยงยุทธ และคณะ, 2551)
                               โพแทสเซียม (K) เป็นธาตุอาหารที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของลำ
                  ต้น รวมทั้งการสร้างเมล็ด ซึ่งในสภาพดินที่ปลูกข้าวโพดในประเทศไทยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีปัญหาด้านการขาด

                  แคลนธาตุโพแทสเซียม โดยธาตุดังกล่าวนอกจากจะมีบทบาทในการสร้างเมล็ดแล้ว ส่วนที่เหลือมักถูกสะสมอยู่
                  ในลำต้นเป็นส่วนใหญ่ และจะถูกไถกลบลงดินตามเดิม (กรมวิชาการเกษตร, 2548) อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่มีการ
                  ปลูกข้าวโพดอย่างต่อเนื่องจะมีธาตุโพแทสเซียมอยู่ในเกณฑ์ต่ำ สำหรับระดับวิกฤตของธาตุโพแทสเซียมใน
                  ดินอัลซิโซลส์ ซึ่งมีเนื้อดินเป็นดินร่วน และดินอัลติโซลส์ซึ่งมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายจะมีระดับวิกฤตของธาตุ

                  โพแทสเซียมประมาณ 55 และ 45 มิลลิกรัมโพแทสเซียมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548)
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17