Page 13 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 13
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
7
สำหรับธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม พบว่า ข้าวโพดต้องการในปริมาณที่ไม่มากนัก
เพราะในดินส่วนใหญ่มีธาตุอาหารดังกล่าวในปริมาณที่เพียงพอ ยกเว้น ในดินที่มีสภาพไม่เหมาะสม อาจส่งผล
ให้ข้าวโพดขาดธาตุอาหารกลุ่มดังกล่าวได้ (คณาจารย์ภาควิชาพืชไร่, 2542)
3.1.3 พื้นที่ปลูกและปริมาณวัสดุเหลือใช้จากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย
จากพื้นที่ข้อมูลการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ของ
ประเทศไทย โดยคิดจากเมื่อเก็บเกี่ยวส่วนฝักไปใช้ประโยชน์ ส่วนที่เหลือ ได้แก่ ตอซังข้าวโพด (corn stover)
เป็นเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีอยู่เป็นจำนวนมากที่เหลือทิ้งในไร่นา คิดสัดส่วนมวลชีวภาพของต้น ตอ
และใบ เป็น 1.10 ตันต่อตันผลผลิต ซังและเปลือก 0.37 ตันต่อตันผลผลิต (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและ
อนุรักษ์พลังงาน, 2561) จากค่าเฉลี่ยผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2559 - 2564 มีพื้นที่
เพาะปลูก 6.85 ล้านไร่ ผลผลิตต่อไร่ของประเทศไทย ปี 2559/60 - 2564/65 เฉลี่ย 4.77 ล้านตัน เมื่อประเมิน
ปริมาณเศษวัสดุเหลือทิ้งจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีปริมาณเศษวัสดุจากต้น ตอ และใบ คิดเป็น 5.25 ล้านตันต่อปี
ซังและเปลือก คิดเป็น 1.77 ล้านตันต่อปี ตามลำดับ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2564) (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 ข้อมูลการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ของประเทศไทย
ปี 2559/60 - 2564/65
ปี เนื้อที่เพาะปลูก (ล้านไร่) ผลผลิต (ล้านตัน) ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม)
2559/60 6.49 4.39 676
2560/61 6.58 4.82 733
2561/62 6.93 5.07 732
2562/63 7.02 4.54 646
2563/64 7.03 4.81 684
2564/65* 7.06 4.96 703
ค่าเฉลี่ย 6.85 4.77 695.67
ที่มา : *ประมาณการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2564)
การใช้ประโยชน์จากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในรูปแบบต่าง ๆ คือ เมล็ด ซัง ต้นสด ต้นแก่ และผลพลอยได้
อื่น ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรมข้าวโพด ได้แก่ เปลือกเมล็ด กาก และรำ เป็นต้น ในประเทศไทยปัจจุบันมี
โรงงานอาหารสัตว์ใช้ข้าวโพดเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของอาหารสัตว์ แหล่งผลิตในประเทศที่สำคัญ
ภาคเหนือ ได้แก่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พิษณุโลก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา ศรีสะเกษ
ภาคกลาง ได้แก่ สระบุรี ลพบุรี ภาคตะวันตก ได้แก่ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ภาคตะวันออก ได้แก่ สระแก้ว
จันทบุรี
3.1.4 องค์ประกอบทางเคมีวัสดุเหลือใช้จากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
องค์ประกอบทางเคมีของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากส่วนของวัสดุเศษเหลือจากเปลือกและซัง
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีองค์ประกอบทางเคมีประกอบด้วยวัสดุแข็งร้อยละ 89.2 โปรตีนร้อยละ 4.20 ไขมันร้อยละ
3.40 เยื่อใยร้อยละ 25.7 เซลลูโลสร้อยละ 40 - 60 เฮมิเซลลูโลสร้อยละ 20 - 30 และลิกนินร้อยละ 15 - 30
(เมฆ และคณะ, 2553; เสาวลักษณ์ และคณะ, 2555) โดยเศษเหลือจากการผลิตข้าวโพด เช่น ต้นข้าวโพด