Page 10 - รายงานฉบับสมบูรณ์ แนวปฏิบัติการที่ดี (good practices) บริเวณพื้นที่ดินเค็มในประเทศไทย
P. 10
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ระบบกำรเพำะเลี้ยงสำหร่ำยพวงองุ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ที่มำ
ระบบการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็น
แนวทางปฏิบัติในพื้นที่ดินเค็มชายทะเล เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน
สาหร่ายพวงองุ่นจัดเป็นพืชชั้นต ่าที่อยู่ในทะเล ซึ่งมีความส าคัญต่อสภาพแวดล้อมและเป็นส่วน
หนึ่งของห่วงโซ่อาหารกับระบบนิเวศ และมีความส าคัญต่อมนุษย์ ทางด้านโภชนาการอาหารและอาหาร
เสริมเพื่อสุขภาพ ตลอดจนช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติทางทะเล โดยเฉพาะมีความจ าเป็นต่อสัตว์น ้าวัยอ่อน
อาจเป็นที่หลบภัยหรือเป็นแหล่งอาหาร รวมทั้งสามารถป้องกันและปรับปรุงคุณภาพน ้าเสียที่อาจเกิดขึ้นใน
น ้าทะเลและแหล่งน ้าได้เป็นอย่างดี โดยสาหร่ายจะท างานร่วมกับแบคทีเรีย แบคทีเรียจะช่วยย่อย
สารประกอบอินทรีย์ต่างๆให้เป็นรูปของสารประกอบอนินทรีย์และสาหร่ายจะใช้สารประกอบเหล่านี้ในการ
ด ารงชีพ นอกจากนี้สาหร่ายสามารถน ามาใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม เครื่องส าอาง และสารสกัดจาก
สาหร่ายสามารถน ามาใช้ในอุตสาหกรรมยาเพื่อป้องกันและรักษาโรคอีกด้วย
สภำพปัญหำของพื้นที่ก่อนกำรเพำะเลี้ยง
เนื่องจากพื้นที่ศึกษานี้ เดิมเป็นพื้นที่ป่าแสม และได้ปรับเปลี่ยนมาท านาเกลือ เมื่อ ปี 2527
เกษตรกรประสบปัญหาเกลือราคาตกต ่า จึงปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินมาเป็นการเพาะเลี้ยงไรทะเล
ต่อมาประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอีกครั้ง สืบเนื่องจากตลาดปลาสวยงาม และกุ้ง เกิดปัญหาจาก
ผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจต้มย ากุ้ง ผนวกกับปัญหาผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม จึงได้ท าการปรับเปลี่ยนมา
เพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น ในปี 2559 จนถึงปัจจุบัน
1