Page 5 - รายงานฉบับสมบูรณ์ แนวปฏิบัติการที่ดี (good practices) บริเวณพื้นที่ดินเค็มในประเทศไทย
P. 5

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                             บทน ำ


                       การประเมินการเปลี่ยนแปลงของดินในภูมิภาคเอเชีย เป็นส่วนหนึ่งของสถานะของทรัพยากรดิน
               โลก (FAO, 2015) ได้เน้นภัยคุกคามต่อดินในพื้นที่ภูมิภาคดังนี้ 1) การพังทลาย 2) การเปลี่ยนแปลงอินทรีย์

               คาร์บอน 3) การสะสมเกลือและโซเดียมในดิน และ 4) ความไม่สมดุลของไนโตรเจน โดยมีผลมาจากการ

               เพิ่มขึ้นของจ านวนประชากร อุตสาหกรรม การสร้างบ้านเรือน เกษตรกรรมที่ไม่ยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลง

               ภูมิอากาศท าให้เกิดภัยคุกคามต่อดินเหล่านี้

                       ในปี พ.ศ. 2562 กลุ่มความร่วมมือของภูมิภาคเอเชีย (ASP) ได้จัดการประชุมใหญ่ที่นิวเดลี

               ประเทศอินเดีย ได้แนะน าและรับรองการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการดินแห่งภูมิภาคเอเชีย

               (CESRA) ภารกิจหลักของ CESRA คือสนับสนุนประเทศที่อยู่ใน ASP ในการจัดการดินอย่างยั่งยืนให้

               ประสบผลส าเร็จด้วยการปฏิบัติร่วมกันของการป้องกัน การจัดการ การฟื้นฟูดิน ในพื้นที่ และบรรเทา
               ผลกระทบต่อการผลิตอาหาร และความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งการจัดเตรียมที่ยั่งยืนต่อการบริการทาง

               ระบบนิเวศและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ CESRA ยังมุ่งหวังที่จะท าการแลกเปลี่ยนองค์

               ความรู้ ข้อมูลและประสบการณ์ในระหว่างภูมิภาคด้วยกัน การส่งเสริมและการน าไปปฏิบัติของเครือข่าย

               ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดินภูมิภาคเอเชีย (SEALNET) ด้วยข้อมูลที่มีมาตรฐาน ที่เชื่อมเข้าด้วยกัน อย่าง
               สะดวกต่อการใช้งาน


                       ส านักงานเลขาธิการ CESRA ก่อตั้งขึ้นในกรมพัฒนาที่ดิน ประเทศไทย โดย CESRA จะท าหน้าที่

               เป็นศูนย์กลางในการวิจัยดินที่ต้องการพัฒนา โดยขึ้นอยู่กับความส าคัญด้านภูมิภาคในการให้การตัดสินใจ
               FAO ประเทศไทย ได้พัฒนาโครงการ TCP เพื่อสนับสนุนการพัฒนายุทธศาสตร์การปฏิบัติการและแผนการ

               ท างานส าหรับ CESRA และเสริมสร้างจุดแข็งด้านความสามารถในการตรวจสอบวิเคราะห์ดินด้วยการน า

               ข้อมูลดินมารวมเข้าด้วยกัน และได้ก่อตั้งเครือข่ายห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดินประเทศไทย


                       แผนที่ดินโลกได้เกิดขึ้นโดยสมัชชาความร่วมมือดินโลก (GSP) ในปี พ.ศ. 2564 อย่างไรก็ตาม แผน
               ที่ดินที่ได้รับอิทธิพลจากเกลือของโลกนั้นยังขาดข้อมูลการจัดการดินอย่างยั่งยืนในพื้นที่ขนาดใหญ่ซึ่งเป็น

               ส่วนของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในอีกทางหนึ่ง ทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศ (UN Decade of

               Ecosystem Restoration) ที่ได้เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2564 หลายประเทศได้เพิ่มการมองหาเครื่องมือที่

               ใช้ในการประเมินการฟื้นฟู โอกาสในการสร้างธุรกิจส าหรับการลงทุนในที่ดิน และการฟื้นฟูระบบนิเวศในวง
               กว้าง นอกจากนี้ การจัดการดินและที่ดินอย่างยั่งยืนยังเป็นความส าคัญแรกของการเปลี่ยนแปลงระบบ

               อาหาร-เกษตร (Agri-food systems transformation) ซึ่งเป็นส่วนส าคัญของการประชุมสุดยอดว่าด้วย

               ความมั่นคงอาหารโลก (Global Food Security Summit)






                                                            ค
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10