Page 12 - รายงานฉบับสมบูรณ์ แนวปฏิบัติการที่ดี (good practices) บริเวณพื้นที่ดินเค็มในประเทศไทย
P. 12
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2.กำรเตรียมบ่อ หมายถึง การปรับสภาพพื้นบ่อ เช่น ความเป็นกรดเป็นด่าง ความสะอาดของก้นบ่อ
ภายในบ่อเลี้ยงให้สามารถใช้เลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นได้โดยมีผลผลิตตอบแทนสูงสุดต่อหน่วยพื้นที่บ่อ
3. กำรจัดกำรระหว่ำงกำรเลี้ยง
3.1 ระหว่างการเลี้ยงมีการเปลี่ยนถ่ายน ้าประมาณ 30% โดยการสูบน ้าเข้าบ่อเลี้ยงอย่างน้อย
1 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อให้สาหร่ายได้รับแร่ธาตุสารอาหาร กระตุ้นการเจริญเติบโต ท าให้น ้าหมุนเวียน
สาหร่ายสามารถดูดซับสารอาหารได้ดีขึ้นหรือติดตั้งท่อน ้าเข้าออกแบบมีประตูปิดเปิดตามระดับน ้า
ธรรมชาติ นอกจากนี้สามารถใช้หลักการสังเกตน ้าขึ้น น ้าลง ร่วมกับปฏิทินจันทรคติ (ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ข้างขึ้น ข้างแรม)
3.2 ความถี่ในการสูบน ้าเข้าขึ้นกับอายุการเลี้ยงและความหนาแน่นของสาหร่าย เพื่อเพิ่ม
สารอาหารธรรมชาติ การหมุนเวียนน ้าและรักษาระดับน ้าในบ่อเลี้ยง
3.3 มีการปล่อยกุ้ง และปูม้า เข้าไปในบ่อเพื่อก าจัดศัตรูของสาหร่าย และเป็นรายได้เสริมได้ด้วย
4. กำรเก็บเกี่ยวผลผลิต
4.1 สาหร่ายพวงองุ่นใช้เวลาปลูกประมาณ 3 เดือน จึงจะให้ผลผลิตโดยสามารถเก็บผลผลิตได้ทุก
2 อาทิตย์ ต่อเนื่องจนอายุ 2 ปี ยกเว้นช่วงเดือน มิถุนายน-กันยายน จะไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้เนื่องจากเป็น
ฤดูฝน
4.2 ในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 1,200 กิโลกรัม
5. กำรจัดกำรหลังกำรเก็บเกี่ยว
5.1 ใส่ถังพักขนาด 500 ลิตร บรรจุน ้าที่สูบขึ้นมาจากบ่อ เพื่อพักสาหร่าย 1 คืน
5.2 คัดแยกท าความสะอาด โดยใช้เครื่อง Skimmer เพื่อหมุนเวียนอากาศในน ้า และผลิต
ฟองอากาศที่ละเอียดมาก เพื่อก าจัดสิ่งสกปรกที่ปนเปื้อนมากับสาหร่าย โดยเปิดเครื่องไว้ตลอดเวลา แต่ไม่
ควรเกิน 3 วัน ในระหว่างนี้ต้องเปลี่ยนถ่ายน ้าทุกวัน
3