Page 14 - รายงานฉบับสมบูรณ์ แนวปฏิบัติการที่ดี (good practices) บริเวณพื้นที่ดินเค็มในประเทศไทย
P. 14
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4. อยู่ห่างไกลจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือแหล่งท าการเกษตรที่ใช้สารเคมี เนื่องจากเป็นแหล่ง
มลพิษต่อสาหร่ายพวงองุ่น ซึ่งเป็นพืชที่ทนต่อสารเคมีหรือมลภาวะต่างๆได้น้อยมาก โดยเฉพาะสารเคมี
บางอย่างอาจสะสมในสาหร่าย ซึ่งเมื่อน ามาบริโภคจะส่งผลต่อผู้บริโภคได้ ดังนั้นที่ตั้งฟาร์มควรอยู่ห่างไกล
จากสถานที่ดังกล่าว
5. เป็นแหล่งที่สามารถจัดหาพันธุ์สาหร่ายพวงองุ่นที่ดีได้ง่าย
6. ขนาดของบ่อไม่ควรเกิน 2 ไร่ โดยขุดลึก 1.70 เมตร ระยะลาด 1.80 เมตร คันบ่อกว้าง 2.50 เมตร
7. ตากบ่ออย่างน้อย 15 วัน โรยปูนขาวเพื่อปรับสภาพ พื้นบ่ออัตรา 15 กิโลกรัม/ไร่
8. สูบน ้าทะเลเข้าท่วมผิวดินก้นบ่อ สูง 50 เซนติเมตรเพื่อบ่มปูน 2 วัน แล้วจึงปล่อยน ้าทิ้ง
9. สูบน ้าทะเลเข้าบ่อ ประมาณครึ่งหนึ่งของบ่อ เพื่อสะดวกในการปักช าสาหร่ายบนผิวดินที่ก้นบ่อ
โดยมีระยะปลูก 50x50 เซนติเมตร เมื่อปลูกเสร็จจึงสูบน ้าเข้าบ่อให้เต็ม
หมำยเหตุ หากเป็นบ่อเก่า ควรมีการตากบ่อ โรยปูนขาวเพื่อปรับสภาพพื้นบ่อ การตากบ่อให้พื้นก้นบ่อมี
โอกาสได้รับแสงแดดและออกซิเจน จะช่วยให้อินทรียวัตถุที่หมักหมมอยู่ในบ่อมีการย่อยสลายตัวได้ดีขึ้นท า
ให้อัตราการเจริญเติบโตของสาหร่ายพวงองุ่นดีขึ้น
5