Page 6 - รายงานฉบับสมบูรณ์ แนวปฏิบัติการที่ดี (good practices) บริเวณพื้นที่ดินเค็มในประเทศไทย
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                       ด้วยการพิจารณานี้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก

               (FAORAP) ซึ่งร่วมกับกรมพัฒนาที่ดินและศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย (CESRA)
               ได้พัฒนาโครงการ “Improving information and developing a repository of sustainable soil

               management practices in Asia” โครงการนี้จะสนับสนุนการพัฒนาคลังข้อมูลแนวทางปฏิบัติด้านการ

               จัดการดินอย่างยั่งยืนของเอเชีย เพื่อพิชิตดินเค็มและการจัดการดินเค็มซึ่งเป็นปัญหาที่ส าคัญของประเทศ

               สมาชิกและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม/โครงการ และการระดมทรัพยากรต่างๆ ในการ

               ท าให้เกิดผล

               ดินที่ได้รับอิทธิพลจำกเกลือในประเทศไทย

                       ดินที่ได้รับอิทธิพลจากเกลือสามารถเป็นได้ทั้งดินเค็มหรือดินโซดิก ดินเค็มคือดินที่มีเกลือที่ละลาย

               น ้าได้ แสดงค่าการน าไฟฟ้าของสารละลายที่สกัดจากดินที่อิ่มตัวด้วยน ้าสูงกว่า 2 dS/m ที่ 25 องศา

               เซลเซียส และดินโซดิกจะมีค่าอัตราดูดซับโซเดียมสูงกว่า 13 ความเค็มเป็นสาเหตุปัญหาหลักในดินและ

               พืชผลต่อเกษตรกรในแนวทางปฏิบัติการจัดการแก้ไข ในปี พ.ศ. 2558 และ 2561 กรมพัฒนาที่ดินได้

               รายงานว่ามีพื้นที่ดินที่ได้รับอิทธิพลจากเกลือมากกว่า 0.6 ล้านเฮกแตร์ หรือ 1.31 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่
               ทั้งหมดของประเทศไทย ประกอบไปด้วยทั้งพื้นที่ไกลจากทะเลและพื้นที่ชายฝั่งทะเล ดินที่ได้รับอิทธิพลจาก

               เกลือในบริเวณที่ไกลจากทะเลในประเทศไทยเกิดจากกระบวนการธรณีเคมีและกระจายอยู่ในภาค

               ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ในขณะที่ดินที่ได้รับอิทธิพลจากเกลือในชายฝั่งทะเลเกิดจากน ้าทะเลที่อยู่

               ตามแนวชายฝั่ง ดินที่ได้รับอิทธิพลจากเกลือแบ่งระดับออกเป็น ระดับน้อย ระดับปานกลาง ระดับมาก และ
               ระดับรุนแรง โดยแนวทางปฏิบัติการจัดการนี้แยกระดับไว้ตามนี้


                       การแพร่กระจายของดินที่ได้รับอิทธิพลจากเกลือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกิดจากทั้งทาง

               ธรรมชาติและกระบวนการที่เกิดจากมนุษย์ การจัดการดินที่ได้รับอิทธิพลจากเกลือในบริเวณที่ไกลทะเลจะ
               ขึ้นอยู่กับระดับความเค็มและกระบวนการเกิดความเค็มที่พบบ่อยในแต่ละพื้นที่ โดยทั่วไป ดินที่ได้รับ

               อิทธิพลจากเกลือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นจะมีปริมาณโซเดียมและคลอไรด์สูง เป็นทราย มีความ

               อุดมสมบูรณ์ต ่า บริเวณพื้นที่ระดับดินที่ได้รับอิทธิพลจากเกลือน้อยถึงระดับปานกลาง จะใช้ประโยชน์ใน

               การท านาข้าวหรือพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ แนวทางปฏิบัติในการจัดการดินที่ได้รับอิทธิพลจากเกลือส่วนใหญ่จะ

               ใช้ในพื้นที่เหล่านี้ โดยเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งการเลือกพันธุ์พืชที่ทนเค็มได้ และ
               การใช้สารอินทรีย์ปรับปรุงดิน เช่น ปุ๋ ยหมัก อินทรียวัตถุ และปุ๋ ยพืชสด


                       หลายการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้สารอินทรีย์ปรับปรุงดินเช่นพืชปุ๋ ยสด ปุ๋ ยคอก

               หรือปุ๋ ยหมักเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและปรับปรุงคุณสมบัติกายภาพของดิน การใช้สารอินทรีย์
               ปรับปรุงดินผสมไปกับนาข้าวเป็นอีกวิธีหนึ่งที่กรมพัฒนาที่ดินแนะน าให้เกษตรกรใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวใน




                                                            ง
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11