Page 24 - ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand Rice Maize Sugarcane Cassava Pineapple
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






               (วรวิทย์, 2529)  สำหรับธาตุอาหารหลักที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของข้าว (macro nutrient) ประกอบด้วย

               ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม  ซึ่งธาตุไนโตรเจนโดยเฉลี่ยในดินมีประมาณร้อยละ 0.14  ปริมาณ
               ไนโตรเจนที่เพียงพอต่อข้าวที่อยู่ในช่วงระยะแตกกอสูงสุด หรือในระยะที่ใบเพิ่งจะพัฒนาเต็มที่ คือ ร้อยละ

               2.80-3.60  ส่วนฟอสฟอรัสโดยเฉลี่ยในดินมีเพียงร้อยละ 0.05  ดินบนของดินนาในประเทศไทย มีฟอสฟอรัส
               เฉลี่ยร้อยละ 0.02 เท่านั้น ซึ่งปริมาณฟอสฟอรัสในระดับที่เพียงพอสำหรับข้าวที่อยู่ในช่วงระยะแตกกอสูงสุด

               คือ ร้อยละ 0.10-0.18 และปริมาณโพแทสเซียมในระดับที่เพียงพอสำหรับข้าวที่อยู่ในช่วงระยะแตกกอสูงสุด

               หรือในระยะที่ใบเพิ่งจะพัฒนาเต็มที่ คือ ร้อยละ 7.00-9.50 (ศรีสม, 2547)

                              3) สภาพภูมิอากาศ

                                  -  อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าวจะอยู่ระหว่าง 25-33 องศาเซลเซียส
               (Reyes et al., 2003) อุณหภูมิที่ต่ำหรือสูงเกินไปมีผลต่อการงอกของเมล็ด การยืดของใบ การแตกกอ

               การสร้างดอกอ่อนและการผสมเกสร ถ้าอุณหภูมิต่ำลงถึง 16 องศาเซลเซียส หรือสูงถึง 40 องศาเซลเซียส
               เกสรตัวผู้จะถูกทำลายหมด เนื่องจากมีกระบวนการที่ต้องอาศัยการทำงานของเอนไซม์ ถ้าอุณหภูมิ

               ไม่เหมาะสมจะทำให้ประสิทธิภาพในการพัฒนาดังกล่าวต่ำลง (Farrell et al., 2006)  โดยอุณหภูมิที่เหมาะสม

               ตามระยะการเจริญเติบโต ได้แก่  ระยะเมล็ดงอก 20-35 องศาเซลเซียส  ระยะการเติบโตของต้นอ่อน 25-30



               องศาเซลเซียส  ระยะการแตกราก 25-28องศาเซลเซียส  ระยะการยืดตัวของใบ 31องศาเซลเซียส ระยะการ
               แตกแขนง  25-31องศาเซลเซียส  ระยะการเกิดดอกอ่อน 25-28 องศาเซลเซียส  ระยะการเติบโตของช่อดอก


               25-28 องศาเซลเซียส ระยะดอกบาน 30-33 องศาเซลเซียส  และระยะเมล็ดสุกแก่ 20-25องศาเซลเซียส
               (Yoshida, 1981)

                                  - แสงแดด ข้าวจัดเป็นพืชที่มีการตอบสนองต่อช่วงแสง (Katsura et al., 2007) โดย
               พบว่าข้าวที่ไวต่อช่วงแสงในประเทศไทยมักจะออกดอกในเดือนที่มีความยาวกลางวัน ประมาณ 11 ชั่วโมง

               40 นาทีหรือสั้นกว่า โดยข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสงน้อยจะออกดอกได้ในเดือนที่มีความยาวของกลางวัน

               ประมาณ 11 ชั่วโมง 40-50 นาที และพันธุ์ที่มีความยาวต่อช่วงแสงมาก คือข้าวที่ออกดอกได้ในเดือนที่มี
               ความยาวของกลางวันประมาณ 11 ชั่วโมง 10-20 นาที พันธุ์ข้าวประเภทนี้จึงปลูกและให้ผลผลิตปีละ 1 ครั้ง

               หรือปลูกได้เฉพาะฤดูนาปี บางครั้งจึงเรียกว่า ข้าวนาปี ดังนั้น การปลูกข้าวต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการ
               ปลูกให้พอดี เพื่อให้มีช่วงความยาวของการเจริญเติบโตทางลำต้น และใบที่พอเหมาะจึงให้ผลผลิตดี

               (กรมการข้าว, 2559)

                              4) ความต้องการน้ำ

                                  - น้ำฝนและน้ำชลประทานมีความสำคัญต่อการผลิตข้าว และข้าวจะให้ผลผลิตสูงเมื่อ

               ได้รับน้ำอย่างเพียงพอตลอดวัฏจักรชีวิต โดยความต้องการน้ำของข้าวนาน้ำขังในเอเชีย มีดังนี้  การคายน้ำ
               (transpiration) 1.5-9.8 มิลลิเมตรต่อวัน การระเหยน้ำ (evaporation) 1.0-6.2 มิลลิเมตรต่อวัน และการ

               ซึมลึก (percolation) 0.2-15.6 มิลลิเมตรต่อวัน รวมปริมาณน้ำทั้งหมดที่สูญเสียในการปลูกข้าว 5.6-20.4



                                                            ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย
                                                  Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand | 20
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29