Page 23 - ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand Rice Maize Sugarcane Cassava Pineapple
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






               แสงแดดจัด ทำให้ใบข้าวสังเคราะห์แสงและเจริญเติบโตได้เต็มที่ มีอายุตั้งแต่ 100-140 วัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าว

               โดยเฉลี่ยประมาณ 120-130 วัน เมื่อมีอายุครบถึงเวลาออกดอก ก็สามารถที่จะออกดอกได้โดยอาศัยช่วงแสง
               เป็นตัวกำหนด ทำให้พันธุ์ข้าวชนิดนี้สามารถให้ผลผลิตได้ตลอดปี (ทั้งฤดูนาปีและนาปรัง) ต้านทานต่อโรคและ

               แมลง  มีการตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยในอัตราที่สูง โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน เช่น พันธุ์ กข 47 กข 49 พิษณุโลก 2
               ชัยนาท 1 สุพรรณบุรี 1 เป็นต้น (กรมการข้าว, 2560)  อย่างไรก็ตาม อายุของพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงอาจมี

               การเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยตามวิธีการจัดการในการปลูก เช่น วิธีปลูกแบบนาหว่านน้ำตม จะทำให้ข้าวมีอายุ

               สั้นลงอีกประมาณ 10-12 วัน การปลูกในดินที่มีความสมบูรณ์สูง อายุของข้าวยาวมากกว่าในดินที่มีความ

               อุดมสมบูรณ์ต่ำ ถ้ามีการให้ปุ๋ยอัตราสูงอาจทำให้อายุข้าวยาวขึ้นได้  เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าบางพันธุ์
               เมื่อปลูกในช่วงต่างๆ ของฤดูนาปีและฤดูนาปรัง หรือปลูกในภาคต่างๆ อายุของข้าวจะมีการเปลี่ยนแปลงที่สั้น
               ลงหรือยาวขึ้น ข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงส่วนใหญ่ได้มาจากการผสมพันธุ์ และวิธีการอื่นๆ เช่น การชักนำให้


               เปลี่ยนแปลงกรรมพันธุ์โดยการอาบรังสี เป็นต้น (กรมการข้าว, 2559)
                         สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและความต้องการของข้าว (Crop Requirement)

                               1) สภาพพื้นที่

                                  - ที่ราบลุ่ม
                              2) ลักษณะดิน

                                  - เป็นดินที่มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี เช่น ดินเหนียว และดินร่วนปนเหนียว

               แต่ดินชนิดอื่น ๆ ก็สามารถปลูกข้าวได้ แต่ผลผลิตกับการเจริญเติบโตจะต่ำกว่า สาเหตุที่ดินเหนียวมีแนวโน้มที่
               จะให้ผลผลิตสูงกว่าดินทราย เนื่องจากดินเหนียวมีการกักเก็บน้ำได้ดี และมีระดับปริมาณธาตุอาหารในดินสูง

               กว่าดินทราย แต่อย่างไรก็ตามชนิดของเนื้อดินไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของข้าว (บุญโฮม

               และคณะ, 2534)
                                  - ความหนาแน่นของดิน เป็นลักษณะที่สำคัญของดินนาที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ

               ความสามารถในการผลิตของดิน ดินนาในประเทศไทยมีค่าความหนาแน่นรวมของชั้นดินบน อยู่ในระดับต่ำถึง

               ปานกลาง โดยมีพิสัย 1.5-1.9 เมกะกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (Kazemi et al., 2010)

                                  -  สภาพการนำน้ำของดินขณะอิ่มตัว ดินนาที่มีความสามารถในการให้ผลผลิตสูง ควรมี
               การซาบซึมน้ำลงของน้ำในดิน (percolation) ไม่เกินวันละ 10-20 มิลลิเมตร (Brady and Weil, 1999)


                                  -  ค่าพีเอชของดิน ข้าวเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโต และให้ผลผลิตในดินตั้งแต่กรดจัด
               มากถึงด่างเล็กน้อย (pH 4.5-7.5) ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดข้าวและพันธุ์ข้าว และระดับพีเอชของดินนามีการ

               เปลี่ยนแปลงอีกหลังจากมีการขังน้ำแล้ว สมดุลของพีเอชในดินนามักจะอยู่ในพิสัย 6.5-7.5 (Brady and Weil,
               1999) แต่โดยทั่วไปแล้วข้าวจะเจริญได้ดีในดินที่มีพีเอช ประมาณ 5.5-6.5 (ทัศนีย์, 2550)

                                  -  ธาตุอาหารพืชที่มีความจำเป็นสำหรับข้าวมี 17 ธาตุ โดยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และ

               ออกซิเจน ได้จากน้ำและอากาศ เป็นส่วนประกอบของข้าวร้อยละ 94.0-99.5 ส่วนที่เหลือเป็นธาตุอื่นๆ


                                                            ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย
                                                  Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand | 19
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28