Page 21 - ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand Rice Maize Sugarcane Cassava Pineapple
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






               ตารางที่ 2  ลักษณะต่างๆ ของพันธุ์ข้าวในกลุ่มอินดิคา จาปอนิคา และจาวานิคา


                         ลักษณะ                    อินดิคา             จาปอนิคา             จาวานิคา

                 รูปร่างเมล็ด               เรียวยาว ค่อนข้างแบน   สั้นและค่อนข้างกลม     ใหญ่ กว้างหนา
                 การมีหางของเมล็ด                   สั้น               สั้นมาก-ยาว         สั้นมาก-ยาว

                 การมีขนของเปลือกเมล็ด             สั้นมาก           ขนมากและยาว             ขนยาว

                 การร่วงของเมล็ด                   ร่วงง่าย             ร่วงยาก              ร่วงยาก

                 ใบ                             ใบสีเขียวอ่อน         ใบสีเขียวเข้ม       ใบสีเขียวอ่อน
                                              กว้าง-แคบ และตก          แคบ และตั้ง         กว้าง และตั้ง

                 การแตกกอ                           มาก               ค่อนข้างมาก             น้อย

                 ทรงกอ                          กอค่อนข้างแผ่            กอตั้ง               กอตั้ง
                 ความสูง                             สูง                  เตี้ย                สูง

                 การทนทานต่ออุณหภูมิต่ำ          ไม่ทนทาน               ทนทาน                ทนทาน

                 การทนทานต่อความแห้งแล้ง          ทนทาน                ไม่ทนทาน             ไม่ทนทาน

                ที่มา : รำพึง (2534)

                       สำหรับประเทศไทยพันธุ์ข้าวที่ปลูกจะเป็นชนิด indica โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้าและ

               ข้าวเหนียว  ยกเว้นข้าวไร่บางพันธุ์ทางภาคเหนือ ซึ่งมีลักษณะบางอย่างของข้าวจาปอนิคารวมอยู่ด้วย (รำพึง,

               2534)  โดยมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งประเทศประมาณ 64 ล้านไร่ คิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 19.9 ของพื้นที่ทั้ง
               ประเทศ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2560) พื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยเป็นพื้นที่หลักในการปลูกข้าว

               เพื่อการส่งออก มีพื้นที่ประมาณ 8.2 ล้านไร่ ได้ผลผลิตข้าวเปลือกรวมประมาณ 6.3 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ
               21.5 ของผลผลิตรวมทั้งประเทศ  ผลผลิตข้าวเฉลี่ยในพื้นที่ภาคกลางเท่ากับ 638 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิต

               ดังกล่าวต่ำกว่าผลผลิตเฉลี่ยของโลก (712 กิโลกรัมต่อไร่) (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2559) และมีต้นทุน

               การผลิตเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3,722- 5,842 บาทต่อไร่ (นิตยา และคณะ, 2554)

                        ในปี 2563/64 มีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปี 62.44 ล้านไร่ ผลผลิต 26.42 ล้านตันข้าวเปลือก และ

               ผลผลิต 423 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.20 ล้านไร่ ผลผลิต 24.06 ล้านตัน
               ข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่เท่ากับ 393 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.03 ร้อยละ 9.81 และร้อยละ 7.63

               ตามลำดับ  โดยเนื้อที่เพาะปลูกข้าวเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี จึงจูงใจ

               ให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูกจากนาที่ปล่อยว่างเมื่อปีที่ผ่านมา และบางส่วนปลูกทดแทนอ้อยโรงงานที่
               ครบอายุ  สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำฝนที่มีเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ส่งผลให้ใน

               ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น  และในปี 2564 มีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง 8.63 ล้านไร่ ผลผลิต 5.44

               ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่เท่ากับ 630 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 7.34 ล้านไร่


                                                            ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย
                                                  Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand | 17
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26