Page 28 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสระแก้ว
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
21
ตารางที่ 10 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตยางพารา
ข้าว (ไร่) มันสำปะหลัง (ไร่)
อำเภอ
S3 N รวม S3 N รวม
เขาฉกรรจ์ 8,227 20 8,247 2,006 - 2,006
คลองหาด 3,769 27 3,796 35,559 - 35,559
โคกสูง 17,471 2,185 19,656 1 - 1
ตาพระยา 83,647 26,175 109,822 3 - 3
เมืองสระแก้ว 19,860 899 20,759 5 - 5
วังน้ำเย็น 15,248 61 15,309 19,701 - 19,701
วังสมบูรณ์ 2,129 12 2,141 22,266 - 22,266
วัฒนานคร 47,258 11,861 59,119 6 - 6
อรัญประเทศ 72,074 12,115 84,189 5,796 - 5,796
รวม 269,683 53,355 323,038 85,343 - 85,343
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
เกษตรกรปลูกยางพาราต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผล
ผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่
สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกยางพาราใน
ที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกยางพารา ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกยางพาราที่สำคัญ
ของจังหวัด โดยพบมากในอำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอคลองหาด และอำเภอวังน้ำเย็น
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูก
ยางพาราในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกยางพารา เช่น ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ำ โดยพบมากในอำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอวัฒนานคร
และอำเภอวังสมบูรณ์ เป็นต้น
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกยางพารา
มีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด
3.1 มะม่วงน้ำดอกไม้สระแก้ว คือ มะม่วงน้ำดอกไม้พันธุ์น้ำดอกไม้สีทองและพันธุ์น้ำดอกไม้
เบอร์4 ที่มีทรงรี เปลือกผิวบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองถึงสีเหลืองทอง เนื้อสีเหลืองอมส้ม เส้นใยน้อย เมล็ดลีบ
ผลดิบมีรสชาติเปรี้ยว เมื่อสุกจะมีรสชาติหวาน กลิ่นหอม น้ำหนักอยู่ในช่วง 250-600 กรัม ปลูกในเขต
พื้นที่อำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญประเทศ อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอวังน้ำเย็น และ
อำเภอวังสมบูรณ์ โดยสภาพดินของจังหวัดสระแก้ว เป็นดินร่วนปนกรวดลูกรัง หรือดินเหนียวปนกรวด
ลูกรัง มีการระบายน้ำดี มีปริมาณไนโตรเจนสูง ซึ่งส่งผลต่อความหวานของมะม่วงน้ำดอกไม้สระแก้ว