Page 29 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสระแก้ว
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               22








                       ประกอบกับปริมาณน้ำฝนของจังหวัดสระแก้วที่มีปริมาณน้อย มีผลให้ตาดอกไม่เปลี่ยนเป็นใบ จึงทำ
                       ให้มีการติดลูกที่ดีและมีคุณภาพสูง
                         3.2  ไม้ผลเขตร้อนชนิดต่าง ๆ จังหวัดสระแก้วมีสภาพแวดล้อมที่สามารถปลูกไม้ผลได้เขตร้อน
                       เป็นอย่างดี เช่น อ้อย เงาะ มังคุด ลองกอง สละ เป็นต้น โดยเฉพาะทางด้านทิศเหนือและทิศ

                       ตะวันออกที่มีปริมาณฝนที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต
                         3.6  พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
                       Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่งที่

                       ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสาระสำคัญที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์
                       ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกในปี 2564 โดย

                       ดำเนินการภายใต้ตลาดนำการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วยให้
                       เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการดํารงชีพ จากฐานข้อมูล Agri-Map Online

                       จังหวัดสระแก้วมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพรได้หลายชนิด เช่น กระชายดำ
                       ขมิ้นชัน และบัวบก เป็นต้น

                             กระชายดำ  เป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการ
                       ระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์

                       และมีรายได้ระหว่างรอการเติบโตของยางพาราหรือปาล์มน้ำมัน โดยพื้นที่จังหวัดสระแก้วมีพื้นที่
                       ศักยภาพในการปลูกกระชายดำที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 775,583 ไร่ กระจายอยู่ใน
                       อำเภออรัญประเทศ อำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอวัฒนานคร เป็นต้น
                             ขมิ้นชัน  สามารถปลูกขึ้นได้ทุกภาคของประเทศไทย เติบโตได้ดีในที่ดอนไม่ชอบน้ำท่วมขัง

                       ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ปญหาของโรคแมลงรบกวนน้อย อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 8-9 เดือน
                       สามารถปลูกเป็นพืชแซมในสวนเป็นการหารายได้เพิ่มเติมได้ โดยพื้นที่จังหวัดสระแก้วมีพื้นที่ศักยภาพ
                       ในการปลูกขมิ้นชันที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 1,121,550 ไร่ กระจายอยู่ในอำเภอ

                       คลองหาด อำเภออรัญประเทศ อำเภอเมืองสระแก้ว เป็นต้น
                             บัวบก เป็นไม้เลื้อยสูงจากพื้นดิน 15-20 เซนติเมตร รากงอกออกตามขอลำตน สวนทางด้านบน
                       ของข้อจะเป็นสวนที่แตกยอดหรือใบอ่อน เป็นใบเดี่ยวออกเป็นกระจุก 2-6 ใบ ดอกสีมวงแดงเข้ม สวน
                       ที่นํามารับประทาน คือ ใบและเถา เป็นพืชไม่ชอบแสงแดดจัด ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,200–2,500
                       มิลลิเมตรต่อปี โดยพื้นที่จังหวัดสระแก้วมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกบัวบกที่ระดับความเหมาะสมสูง

                       (S1) ประมาณ 9,748 ไร่ กระจายอยู่ในอำเภอวัฒนานคร อำเภอเมืองสระแก้ว

                       4  แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ

                         4.1  ข้าว

                             1) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่ 36,734 ไร่
                       พบมากที่อำเภอตาพระยา อำเภอวังน้ำเย็น และอำเภอคลองหาด ตามลำดับ ทั้งนี้คณะอนุกรรมการ
                       พัฒนาที่ดินจังหวัด ควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของ

                       จังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำชลประทาน การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าว มีการรวมกลุ่มเป็นเกษตร
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34