Page 32 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสระแก้ว
P. 32
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
25
ส่งเสริมให้มีการปลูกอ้อยโรงงานที่มีสายพันธุ์ต้านทานโรค สร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจ
ให้กับเกษตรกรที่มีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง ในการปลูกอ้อยโรงงาน เพื่อแก้ไขปัญหาการปรับเปลี่ยนพื้นที่
2) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงานอยู่
มีเนื้อที่ 248,600 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภออรัญประเทศ อำเภอคลองหาด และอำเภอวัฒนานคร
เกษตรกรยังคงปลูกอ้อยโรงงานได้ผลดี ควรพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้มากขึ้น ในเรื่องของคุณภาพดิน
และการบริหารจัดการน้ำ ให้มีเพียงพอและเหมาะสมต่อการเพาะปลูก สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับ
เกษตรกรในการจัดการพื้นที่ การปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว ส่งเสริมการเพิ่มมูลคาของเสีย
จากโรงงานน้ำตาล และการนําของเสียจากโรงงานน้ำตาลไปใชในการปรับปรุงบำรุงดินในไร่อ้อย เพื่อเพิ่ม
ผลผลิตและลดต้นทุนใหแก่เกษตรกรชาวไร่
3) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
ยังคงใช้ที่ดินปลูกอ้อยโรงงานอยู่ 201,222 ไร่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหา เช่น น้ำท่วมซ้ำซาก ขาดน้ำ
ผลผลิตต่ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการ
ปรับโครงสร้างที่ดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม เป็นการ
สร้างรายได้ และผลิตอาหารเพื่อบริโภค ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้
ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผัก บริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่
เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกอ้อยโรงงาน แต่ปัจจุบันเกษตรกร
ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน พบว่าเกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ข้าว มันสำปะหลัง เป็นต้น ภาครัฐควร
ให้ความรู้แก่เกษตรกรและสร้างแรงจูงใจให้กลับมาปลูกมันสำปะหลังเหมือนเดิม เนื่องจากพื้นที่มีความ
เหมาะสม ทำให้ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำและผลผลิตมีคุณภาพดี ทั้งนี้เกษตรกรต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
4.4 ยางพารา
1) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่ มีเนื้อที่
156,158 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอวัฒนานคร อำเภอวังสมบูรณ์ และอำเภอคลองหาด
ตามลำดับ ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้
เป็นแหล่งปลูกยางพาราคุณภาพดีที่สำคัญของจังหวัด การคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
และต้านทานโรค การปรับปรุงบำรุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การปลูกพืชแซมและ
พืชคลุมดินให้เหมาะสมเพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตของยาง การบำรุงรักษา การใส่ปุ๋ยการตัดแต่งกิ่ง
และเทคนิคการกรีดยางให้มีปริมาณน้ำยางสูงมีคุณภาพและตรงตามมาตรฐาน เน้นการพัฒนาการ
ตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง ส่งเสริมให้
เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่มีความเข้มแข็ง
2) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพารา
อยู่ มีเนื้อที่ 103,007 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอวัฒนานคร อำเภอเมืองสระแก้ว และอำเภอเขาฉกรรจ์
เกษตรกรยังคงปลูกยางพาราได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาโครงสร้างของดิน การสนับสนุน
อินทรียวัตถุจะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ควรสนับสนุนให้มีเพิ่มผลผลิตยางพารา
โดยเน้นการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับพื้นที่เหมาะสมสูง โดยเฉพาะการปรับปรุงบำรุง