Page 33 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสระแก้ว
P. 33
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
26
ดิน เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ ที่มีความ
เหมาะสมปานกลาง ให้มากขึ้น ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และปลูกยางพารา
ทดแทนในพื้นที่เดิมเช่นกันกับพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง พัฒนาตลาดและช่องทางจัดจำหน่ายให้มากขึ้น
โดยเน้นการแปรรูปยาง หรือไม้ยางพาราเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจดูจากชุมชนที่เข้มแข็งเป็นพื้นที่ต้นแบบ
3) พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคง
ใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ มีเนื้อที่ 33,931 ไร่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหา เช่น ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับ
โครงสร้างที่ดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม เป็นการสร้าง
รายได้ และผลิตอาหารเพื่อบริโภค ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และหาพืชอื่น
ทดแทน เช่น ส่งเสริมให้ปลูกไม้ผล มะพร้าว ไผ่หวาน มันสำปะหลัง แตงโม พืชไร่ และพืชผักต่าง ๆ
ทดแทน ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผัก
บริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการ ปรับเปลี่ยนการหรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม
(Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบันเกษตรกร
ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกยางพารา พบว่าเกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ควรเน้นให้
เกษตรกรปลูกพืชดังกล่าวต่อไป เนื่องจากปัจจุบันตามมาตรการยุทธศาสตร์ยางพารา เน้นการลดพื้นที่
การปลูกยางพาราอยู่แล้ว ฉะนั้นควรสร้างความตระหนักให้เกษตรกร เน้นการทำการเกษตรแบบผสมผสาน
หรือการเข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อทำให้เกษตรกรสามารถใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าต่อไป