Page 24 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสระแก้ว
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               17








                       ตารางที่ 8  พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตอ้อยโรงงาน

                                                   ข้าว (ไร่)                     มันสำปะหลัง (ไร่)
                           อำเภอ
                                         S3          N          รวม         S3          N         รวม
                         เขาฉกรรจ์       8,227          5       8,232       2,006          -       2,006
                         คลองหาด         3,769         27       3,796      35,036          -      35,036
                         โคกสูง         17,471       1,541     19,012          1           -          1
                         ตาพระยา        85,121      22,785    107,906          3           -          3
                         เมืองสระแก้ว   19,860         15      19,875          3           -          3
                         วังน้ำเย็น     15,248           -     15,248      19,701          -      19,701
                         วังสมบูรณ์      2,129         11       2,140      22,266          -      22,266
                         วัฒนานคร       47,258       8,079     55,337          5           -          5
                         อรัญประเทศ     72,074      10,197     82,271       5,764          -       5,764
                            รวม        271,157      42,660    313,817      84,785          -      84,785

                             4) แนวทางการจัดการ
                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร

                       ปลูกอ้อยโรงงานต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มี
                       คุณภาพดี ซึ่งการปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญ
                       ต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน

                       ในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกอ้อยโรงงาน ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกอ้อยโรงงาน
                       ที่สำคัญของจังหวัด โดยพบมากที่อำเภอวัฒนานคร อำเภอตาพระยา และอำเภอเมืองสระแก้ว
                                 พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน ในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกอ้อย
                       โรงงาน ในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการอ้อยโรงงานเช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                       ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น โดยพบมากที่อำเภออรัญประเทศ อำเภอคลองหาด และอำเภอวัฒนานคร
                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
                       เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกอ้อยโรงงาน

                       มีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
                         2.4  ยางพารา

                             ยางพาราพืชเศรษฐกิจหลักของสระแก้วในลำดับที่ 4 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก
                       หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 9 และภาพที่ 12 -13 )

                             1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกยางพารา
                               ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 127,550 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.13 ของ
                       พื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอคลองหาด 47,977 ไร่ อำเภอวังน้ำเย็น 22,645 ไร่

                       และอำเภอวังสมบูรณ์ 19,352 ไร่
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29