Page 31 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสระแก้ว
P. 31
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
24
และโรงงาน เพื่อวางแผนการขุดของเกษตรกร ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วงอายุ และ
ระยะเวลาที่เหมาะสมเข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่ และส่งเสริมให้เกษตรกรเป็น Smart farmer
2) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกมันสำปะหลัง
อยู่ มีเนื้อที่ 181,526 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเขตอำเภอตาพระยา อำเภอวัฒนานคร และเมืองสระแก้ว
เกษตรกรยังคงปลูกอ้อยโรงงานได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาขาดน้ำในบางช่วงของการเพาะปลูก
พัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้มากขึ้น ในเรื่องของคุณภาพดิน และ ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินอยู่เสมอ
ส่งเสริมให้มีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งอาจต้องใช้ปุ๋ยส่งตัด สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับ
เกษตรกรในการจัดการพื้นที่ การปลูก การดูแลรักษา การป้องกันโรค แมลงศัตรูพืช และการเก็บเกี่ยว
สงเสริมการใช้ท่อนพันธุ์ที่ต้านทานโรค และให้ผลผลิตสูง พัฒนาระบบน้ำหยดและการใช้น้ำจากแหล่งน้ำ
ในพื้นที่ ให้มีการใช้ประโยชน์กับมันสำปะหลังให้มากที่สุด ส่งเสริมเกษตรกรแปรรูปมันสำปะหลัง
เบื้องต้นเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น การแปรรูปมันเส้นสะอาด ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วงอายุ
และระยะเวลาที่เหมาะสม
3) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบัน
เกษตรกรยังคงใช้ที่ดินปลูกมันสำปะหลังอยู่ 317,633 ไร่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหา เช่น น้ำท่วมซ้ำซาก
ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ ควรส่งเสริม
และสร้างความรู้ความเข้าใจในการไถระเบิดดินดาน ให้เกษตรกรมีวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ลดต้นทุน
ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อ
บริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง แต่ปัจจุบัน
เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง พบว่าเกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ยางพารา เป็นต้น ภาครัฐควรให้ความรู้แก่เกษตรกรและสร้างแรงจูงใจให้กลับมาปลูกมันสำปะหลัง
เหมือนเดิม เนื่องจากพื้นที่มีความเหมาะสม ทำให้ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำและผลผลิตมีคุณภาพดี ทั้งนี้
เกษตรกรต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
4.3 อ้อยโรงงาน
1) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงาน
มีเนื้อที่ 715 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอวัฒนานคร อำเภอตาพระยา และอำเภอเมืองสระแก้ว
ตามลำดับ ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้
เป็นแหล่งปลูกอ้อยโรงงานคุณภาพดีที่สำคัญของจังหวัด ตามแผนยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการ
อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2560-2564 มียุทธศาสตร์ ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย การบริหารจัดการ
และการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาลทราย และอุตสาหกรรม เน้นให้มีการเพิ่ม
ผลผลิตอ้อยโรงงานในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง แต่เน้นการลดต้นทุนผลผลิต ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ย
อินทรีย์แบบคุณภาพสูง มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยการรณรงค์ลดการเผาตอซังเพื่อเพิ่มผลผลิตและลด
ปัญหาภาวะโลกร้อน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคิดค้นเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยว โดยใช้เครื่องจักรเพื่อลด
ปัญหาแรงงาน ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มและเข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่ จัดหาปัจจัยการผลิต
ให้กับเกษตรกร และอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่มีการปรับปรุงบำรุงดินโดยลดต้นทุนการผลิต