Page 30 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสระแก้ว
P. 30
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
23
แปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจรด้านการตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐ
สนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ และ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agriculture
Practices : GAP) และเนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง การปลูกพืชหลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้
เพิ่มขึ้น และเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน ทั้งนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่า
พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวจึงไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าว
ราคาไม่ดีถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ในอนาคตจะได้กลับมาทำนาได้อีก
2) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่มาก
290,380 ไร่ พบมากที่อำเภออรัญประเทศ อำเภอโคกสูง และอำเภอวัฒนานคร ตามลำดับ เป็นพื้นที่
ปลูกข้าวที่มีข้อจำกัดไม่มากนัก เกษตรกรยังคงปลูกข้าวได้ผลดี ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ
เช่น ชลประทาน จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นจะ
ลดลง และพื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรแม่นยำหรือเกษตร
ทฤษฎีใหม่ เป็นต้น และภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยน
ไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดีและต้องการปรับเลี่ยนการผลิตควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ในอนาคตยัง
สามารถกลับมาทำนาได้อีก
3) พื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) ปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้พื้นที่นี้ปลูก
ข้าวอยู่ 950,584 ไร่ ซึ่งประสบปัญหา เช่น น้ำท่วมซ้ำซาก ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ควรให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม โดยสนับสนุนการ
ปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความ
เหมาะสม และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการ
บริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่
ปลูกข้าว โดยหันมาปลูกอ้อยโรงงานหรือมันสำปะหลังแทน พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสม
สำหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกข้าว โดยมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น
อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่ หากในอนาคตข้าวราคาดี เกษตรกรอาจ
กลับมาปลูกข้าวได้เหมือนเดิม แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกข้าวอาจเป็นเรื่องยาก
ดังนั้นอาจส่งเสริมในเรื่องของการทำเกษตรรูปแบบอื่น เช่น ทำการเกษตรแบบผสมผสานทดแทน
4.2 มันสำปะหลัง
1) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกมันสำปะหลังอยู่
มีเนื้อที่ 35,836 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอตาพระยา อำเภอวัฒนานคร และเมืองสระแก้ว
ตามลำดับ ทั้งนี้ตามมาตรการยุทธศาสตร์มันสำปะหลัง 2564 -2567 เน้นให้เกษตรกรเข้าถึงพันธุ์
มันสำปะหลังต้านทานโรค ให้เชื้อแป้งสูงและมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ไม่ต่ำกว่า 5 ตัน ภายในปี 2567 นั้น
แต่เน้นการลดต้นทุนผลผลิต เร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาโรคโคนเน่าหัวเน่า และโรคใบด่าง
มันสำปะหลัง ส่งเสริมการทำระบบน้ำหยดในพื้นที่ที่มีศักยภาพ การปรับปรุงบำรุงดิน การใส่ปุ๋ยที่
ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ทำการวิเคราะห์คุณภาพดินอยู่เสมอ ส่งเสริมเกษตรกรแปรรูปมัน
สำปะหลังเบื้องต้นเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น การแปรรูปมันเส้นสะอาด สร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกร