Page 28 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดระยอง
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               21








                       ตารางที่ 10  พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตสับปะรดโรงงาน

                                                ปาล์มน้ำมัน (ไร่)                   ทุเรียน (ไร่)
                           อำเภอ
                                         S3          N          รวม         S3          N         รวม
                         แกลง                -           -          -       1,977          -       1,977
                         เขาชะเมา            -           -          -         62           -         62
                         นิคมพัฒนา           -           -          -          1           -          1
                         บ้านค่าย            -           -          -          8           1          9
                         บ้านฉาง             -           -          -           -          -          0
                         ปลวกแดง             -           -          -           -          -          0
                         เมืองระยอง      2,600      19,597     22,217       1,363          -       1,363
                         วังจันทร์           -           -          -        891           -        891
                            รวม          2,600      19,597     22,197       4,302          1       4,303

                             4) แนวทางการจัดการ
                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
                       เกษตรกรปลูกสับปะรดโรงงานต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต

                       และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกสับปะรดโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การ
                       ต่อยอดโครงการที่สำคัญต่างๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตร
                       แม่นยำ เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกสับปะรดโรงงานในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูก

                       สับปะรดโรงงานในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกสับปะรดโรงงาน ซึ่งควรสงวนไว้เป็น
                       แหล่งปลูกสับปะรดโรงงานที่สำคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอำเภออำเภอนิคมพัฒนา อำเภอ
                       ปลวกแดง และอำเภอบ้านค่าย เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกสับปะรดโรงงานในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูก

                       สับปะรดโรงงานในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกสับปะรดโรงงาน เช่น ความอุดม
                       สมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ำ โดยกระจายอยู่อำเภอนิคมพัฒนา อำเภอปลวกแดง
                       และอำเภอบ้านค่าย เป็นต้น

                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
                       เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกสับปะรดโรงงาน
                       มีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด

                         3.1  สับปะรดทองระยอง พืชที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงของจังหวัด เป็นผลไม้ล่าสุดที่ได้
                       ผ่านการรับรอง GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นสินค้า จีไอ มีแหล่งผลิตที่เป็น
                       เอกลักษณ์เฉพาะตัวของจังหวัดระยอง มีคุณลักษณะที่โดดเด่นแตกต่างจากสับปะรดพันธุ์อื่นคือ

                       มีน้ำหนักโดยเฉลี่ย ผลละ 0.7-1.5 กิโลกรัม ตาสับปะรดนูนไม่แบน เมื่อผลสุกได้ที่แล้ว เนื้อและเปลือก
                       เปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง มีกลิ่นหอม เนื้อหวานฉ่ำ เนื้อแน่น ไม่เป็นโพรง รับประทานแล้วไม่กัดลิ้น
                       รสชาติหวานนำเปรี้ยว เนื้อกรอบ แกนกรอบ ขอบใบที่ต้นและจุกมีหนามสั้นแหลมคม รูปผลเป็น
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33