Page 30 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดระยอง
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               23








                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบันเกษตรกร
                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกยางพารา โดยหันมาปลูกปาล์มน้ำมัน ทุเรียนแทน ควรเน้นให้เกษตรกรปลูกพืชดังกล่าว
                       ต่อไป เนื่องจากปัจจุบันตามมาตรการยุทธศาสตร์ยางพารา เน้นการลดพื้นที่การปลูกยางพาราอยู่แล้ว

                       ฉะนั้นควรสร้างความตระหนักให้เกษตรกร เน้นการทำการเกษตรแบบผสมผสาน หรือการเข้าร่วม
                       โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อทำให้เกษตรกรสามารถใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ามากที่สุดต่อไป

                         4.2  มันสำปะหลัง

                             1) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกทุเรียนอยู่ มีเนื้อที่
                       8,555 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอบ้านฉาง อำเภอเมือง และอำเภอปลวกแดง ตามลำดับ ทั้งนี้

                       โดยคณะอนุกรรมพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิต
                       มันสำปะหลังคุณภาพดีของจังหวัด ควรมีการจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ทุเรียนคุณภาพดี โดยรวมกลุ่มเป็น
                       ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศ การ

                       แปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้า เกษตรอินทรีย์ และ GAP ส่งเสริมการทำ
                       ระบบน้ำหยดในพื้นที่ที่มีศักยภาพ การปรับปรุงบำรุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ทำ

                       การวิเคราะห์คุณภาพดินอยู่เสมอ ส่งเสริมเกษตรกรแปรรูปมันสำปะหลังเบื้องต้นเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น
                       การแปรรูปมันเส้นสะอาด สร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกรและโรงงาน เพื่อวางแผนการขุดของ

                       เกษตรกร ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วงอายุ และระยะเวลาที่เหมาะสม ใช้ท่อนพันธุ์ที่
                       ต้านทานโรค และให้ผลผลิตสูงเข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่ และส่งเสริมให้เกษตรกรเป็น Smart

                       farmer ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วงอายุ และระยะเวลาที่เหมาะสม
                             2) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกทุเรียนอยู่
                       มีเนื้อที่ 56,694 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอบ้านฉาง อำเภอปลวกแดง และอำเภอเมือง เกษตรกร

                       ยังคงปลูกมันสำปะหลังได้ผลดี พัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้มากขึ้นในเรื่องของคุณภาพดิน และทำการ
                       ตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินอยู่เสมอ ส่งเสริมให้มีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งอาจต้องใช้ปุ๋ยสั่งตัด

                       สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการจัดการพื้นที่ การปลูก การดูแลรักษา การป้องกันโรค
                       แมลงศัตรูพืช และการเก็บเกี่ยว ส่งเสริมการใช้ท่อนพันธุ์ที่ต้านทานโรค และให้ผลผลิตสูงพัฒนาระบบ

                       น้ำหยดและการใช้น้ำจากแหล่งน้ำในพื้นที่ ให้มีการใช้ประโยชน์กับมันสำปะหลังให้มากที่สุด ส่งเสริม
                       เกษตรกรแปรรูปมันสำปะหลังเบื้องต้นเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น การแปรรูปมันเส้นสะอาด ประชาสัมพันธ์

                       ให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วงอายุ และระยะเวลาที่เหมาะสม
                             3) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบัน
                       เกษตรกรยังคงใช้ที่ดินปลูกมันสำปะหลังอยู่ พื้นที่ดังกล่าว ผลผลิตต่ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้

                       การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่ โดยส่งเสริมและสร้างความรู้ความเข้าใจในการไถระเบิดดินดาน ให้
                       เกษตรกรมีวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ลดต้นทุน ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้

                       ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อ บริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการ
                       พื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35