Page 24 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดระยอง
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               17








                       ตารางที่ 8  พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตทุเรียน

                                                 ยางพารา (ไร่)                    ปาล์มน้ำมัน (ไร่)
                           อำเภอ
                                         S3          N          รวม         S3          N         รวม
                       แกลง              1,644           -      1,644       1,974        104       2,078
                       เขาชะเมา             11           -         11        407           -        407
                       นิคมพัฒนา             -           -          -           -          -           -
                       บ้านค่าย              -           -          -           -         23         23
                       บ้านฉาง               -           -          -           -          -           -
                       ปลวกแดง               -           -          -           -          -           -
                       เมืองระยอง        5,733           -      5,733           -         56         56
                       วังจันทร์         2,072           -      2,072        219       5,478       5,697
                            รวม          9,460           -      9,460       2,600      5,661       8,261

                             4) แนวทางการจัดการ
                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
                       เกษตรกรปลูกทุเรียนต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผล

                       ผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกทุเรียนในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่
                       สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกทุเรียนในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกทุเรียนในที่ดินที่

                       ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกทุเรียน ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่สำคัญของจังหวัด
                       โดยกระจายอยู่ในอำเภอแกลง อำเภอเขาชะเมา และอำเภอวังจันทร์
                                 พื้นที่ปลูกทุเรียนในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกทุเรียนใน
                       ที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกทุเรียน เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความ

                       เป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น โดยกระจายอยู่ในอำเภอแกลง อำเภอวังจันทร์ และอำเภอเขาชะเมา
                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
                       เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกทุเรียน มีต้นทุนที่ต่ำ
                       และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                         2.4  สับปะรดโรงงาน

                             สับปะรดโรงงานพืชเศรษฐกิจหลักของระยองในลำดับที่ 4 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก
                       หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 9 และภาพที่ 14 – 15)

                             1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกสับปะรดโรงงาน
                               ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 114,132 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.94 ของ
                       พื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอวังจันทร์ 36,215 ไร่ อำเภอเมืองระยอง 27,873 ไร่

                       และอำเภอแกลง 20,009 ไร่
                               ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 1,234,048 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       64.21 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอแกลง 250,484 ไร่ อำเภอปลวกแดง

                       230,583 ไร่ และอำเภอเมืองระยอง 226,494 ไร่
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29