Page 31 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดระยอง
P. 31
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
24
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง แต่ปัจจุบัน
เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง พบว่าเกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา
เป็นต้น ทั้งนี้ในกรณีที่เกษตรกรปลูกทุเรียน ภาครัฐควรให้ความรู้แก่เกษตรกรและสร้างแรงจูงใจให้
กลับมาปลูกทุเรียนเหมือนเดิม เนื่องจากพื้นที่มีความเหมาะสม ทำให้ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำและผลผลิตมี
คุณภาพดี ทั้งนี้เกษตรกรต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
4.3 ทุเรียน
1) พื้นที่ปลูกทุเรียนที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกทุเรียนอยู่ มีเนื้อที่
34,695 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอแกลง อำเภอเขาชะเมา และอำเภอวังจันทร์ ตามลำดับ ทั้งนี้
คณะอนุกรรมพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นพื้นที่ปลูก
ทุเรียนที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำอย่างดี รวมทั้งการจัดการดินและปุ๋ยตาม
มาตรฐาน ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สนับสนุนการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่
สร้างเครือข่ายในรูปแบบของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตสู่การผลิต
ผลไม้ครบวงจร เช่น บริหารจัดการผลผลิตแบบป้องกันความเสี่ยงโดยใช้การตลาดนำการผลิตเพิ่ม
ประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาให้เกษตรกรเพาะปลูกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) เน้นการ
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพทุเรียนทั้งในและนอกฤดู ให้สอดคล้องตาม
ฤดูกาล การผลิตผลไม้คุณภาพตามแหล่งกำเนิดภูมิศาสตร์ (GI) และไม้ผลอัตลักษณ์ของจังหวัด
2) พื้นที่ปลูกทุเรียนที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกทุเรียนอยู่ มีเนื้อที่
12,193 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอแกลง อำเภอวังจันทร์ และอำเภอเขาชะเมา เกษตรกรยังคงปลูก
ทุเรียนได้ผลดี เนื่องจากเป็นไม้ผล ซึ่งบางช่วงมีความต้องการการใช้น้ำในปริมาณที่มาก ควรสนับสนุน
ด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น ชลประทาน แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ใช้ปัจจัยการผลิตใน
อัตราและช่วงเวลาที่เหมาะสม จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ภาครัฐควรให้ความรู้
ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หรือถ้าต้องการเปลี่ยน
ชนิดพืชควรเป็นพืชที่มีผลตอบแทนดีกว่า
3) พื้นที่ปลูกทุเรียนในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคง
ใช้ที่ดินปลูกทุเรียนอยู่ ภาครัฐให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับ
โครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ หาแหล่งเงินทุนประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แนวทางการ
บริหารจัดการให้แก่เกษตรกร ในกรณีที่ทุเรียนหมดอายุต้องโค่นทิ้งเนื่องจากให้ผลผลิตลง ต้องใช้ทุน
เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เกษตรกรสามารถเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่
ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม
(Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกทุเรียน แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้
ใช้พื้นที่ปลูกทุเรียน พบว่าเกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ทั้งนี้หากพืช
ที่ปลูกเป็นพืชไร่ ในอนาคตสามารถกลับมาปลูกทุเรียนได้อีก แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น อาจเป็น
เรื่องยาก ต้องรอจนพืชเดิมครบอายุตัดโค่น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาต้นทุนการผลิตร่วมด้วย ภาครัฐควร