Page 32 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดระยอง
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               25








                       ประชาสัมพันธ์และสร้างมาตรการจูงใจให้เกษตรกรกลับมาปลูกทุเรียนในพื้นที่นี้หรือทำในรูปแบบสวน
                       ผสมระหว่างไม้ผลเขตร้อน เช่น เงาะ มังคุด ลองกอง เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาลักษณะทาง
                       การตลาดร่วมด้วย

                         4.4  สับปะรดโรงงาน
                             1) พื้นที่ปลูกสับปะรดโรงงานที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่

                       มีเนื้อที่ 931 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอวังจันทร์ อำเภอเมืองระยอง และอำเภอแกลง ตามลำดับ
                       ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นพื้นที่
                       ปลูกสับปะรดโรงงานที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำอย่างดี รวมทั้งการจัดการดินและ
                       ปุ๋ยตามมาตรฐาน ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ใช้พันธุ์สับปะรดโรงงานที่ได้รับการ

                       รับรอง สนับสนุนการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ สร้างเครือข่ายในรูปแบบของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร
                       วิสาหกิจชุมชน กับโรงงานแปรรูปสับปะรด ให้ความรู้เรื่องการเก็บเกี่ยวสับปะรดโรงงานที่ได้คุณภาพ
                       เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาให้เกษตรกรเพาะปลูกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

                       (GAP) เนื่องจากสับปะรดเป็นพืชไร่อายุยาว สามารถปลูกได้นาน 1-3 ปี จึงควรประชาสัมพันธ์ ให้
                       ความรู้แนวทางการบริหารจัดการสับปะรดให้แก่เกษตรกร อย่างถูกวิธี
                             2) พื้นที่ปลูกสับปะรดโรงงานที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูก
                       สับปะรดโรงงานอยู่ มีเนื้อที่ 43,033 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอแกลง อำเภอปลวกแดง และอำเภอเมือง
                       ระยอง ตามลำดับ เกษตรกรยังคงปลูกสับปะรดโรงงานได้ผลดี ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น

                       ชลประทาน แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ใช้ปัจจัยการผลิตในอัตราและช่วงเวลาที่เหมาะสม
                       สนับสนุนพันธุ์สับปะรดโรงงานที่ได้รับการรับรอง จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด
                       โรงงาน และภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกร ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แนวทางการ

                       บริหารจัดการสับปะรดให้แก่เกษตรกร พร้อมทั้งแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หรือถ้า
                       ต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชที่มีผลตอบแทนดีกว่าและมีต้นทุนต่ำกว่า
                             3) พื้นที่ปลูกสับปะรดโรงงานในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบัน
                       เกษตรกรยังคงใช้ที่ดินปลูกสับปะรดโรงงานอยู่ ภาครัฐให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้

                       โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้
                       แนวทางการบริหารจัดการให้แก่เกษตรกร ทั้งนี้เกษตรกรสามารถเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความ
                       เหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการ
                       บริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น

                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกสับปะรดโรงงาน แต่ปัจจุบัน
                       เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกสับปะรดโรงงาน โดยหันมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน หรือ
                       ทุเรียน ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่ ในอนาคตสามารถกลับมาปลูกสับปะรดโรงงานได้อีก แต่หากเป็น

                       ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกสับปะรดโรงงานอีกครั้งอาจเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะการปลูกไม้ผล
                       เช่น ทุเรียนที่ปัจจุบันราคาดี แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาต้นทุนการผลิตและการตลาดร่วมด้วย
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37