Page 29 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดระยอง
P. 29
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
22
ทรงกระบอก ปัจจุบัน มีการปลูกสับปะรดพันธุ์นี้อย่างกว้างขวางในพื้นที่อำเภอเขาชะเมา วังจันทร์
บ้านค่าย และปลวกแดง รวมพื้นที่ กว่า 6,000 ไร่สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบชายฝั่งที่เกิดจากการทับ
ถมของตะกอนบริเวณแอ่งลุ่มน้ำระยอง และที่ลาดสลับเนินเขา ภูเขามีลักษณะเป็นลอนลูกคลื่นสูงต่ำ
สลับกันไปรวมกับพื้นที่ทิวเขา มีแม่น้ำสำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำระยอง และแม่น้ำประแสร์ เนื้อดินเป็น
ดินร่วนปนทราย และดินร่วนเหนียวปนทราย ซึ่งดินเป็นกรดอ่อนๆ และระบายน้ำได้ดี มีธาตุอาหาร
ไนโตรเจนและโพแทสเซียมสูง ตอบสนองต่อการเจริญเติบโตของสับปะรดเป็นอย่างดี
3.2 ไม้ผลเขตร้อนชนิดต่าง ๆ จังหวัดระยองมีสภาพแวดล้อมที่สามารถปลูกไม้ผลได้เขตร้อน
เป็นอย่างดี เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง สละ เป็นต้น โดยเฉพาะทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก
ของจังหวัดที่มีปริมาณฝนที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของไม้ผล
4 แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ
4.1 ยางพารา
1) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูก 210,677 ไร่ ปลูกมากใน
เขตอำเภอแกลง อำเภอวังจันทร์ และอำเภอเมืองระยอง ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควร
ให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตยางพาราที่สำคัญของจังหวัด ส่งเสริมการ
คัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และต้านทานโรค การปรับปรุงบำรุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้อง
และมีประสิทธิภาพ การปลูกพืชแซมและพืชคลุมดินให้เหมาะสมเพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตของ
ยาง การบำรุงรักษา การใส่ปุ๋ยการตัดแต่งกิ่ง และเทคนิคการกรีดยางให้มีปริมาณน้ำยางสูงมีคุณภาพ
และตรงตามมาตรฐาน เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์
ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่มีความเข้มแข็ง
2) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพารา
อยู่ มีเนื้อที่มากถึง 453,181 ไร่ ปลูกมากในอำเภอบ้านค่าย อำเภอปลวกแดง อำเภอแกลง เป็นพื้นที่
ปลูกยางพาราที่มีข้อจำกัดไม่มากนัก เกษตรกรยังคงปลูกยางพาราควรสนับสนุนให้มีเพิ่มผลผลิต
ยางพารา โดยเน้นการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับพื้นที่เหมาะสมสูง โดย เฉพาะ
การปรับปรุงบำรุงดิน เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์
ในพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมปานกลาง ให้มากขึ้น ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี
และปลูกยางพาราทดแทนในพื้นที่เดิมเช่นกันกับพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง พัฒนาตลาดและช่องทาง
จัดจำหน่ายให้มากขึ้น โดยเน้นการแปรรูปยาง หรือไม้ยางพาราเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจเน้นจากชุมชนที่
เข้มแข็งเป็นพื้นที่ต้นแบบ
3) พื้นที่ปลูกยางพาราที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้
ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และหาพืชอื่นทดแทนที่
เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เช่น ส่งเสริมให้ปลูกไม้ผล มะพร้าว ไผ่หวาน เป็นต้น ทดแทนให้การ
ช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือเข้าโครงการบริหารจัดการ
พื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น ทั้งนี้ต้องพิจารณาลักษณะทางการตลาดร่วมด้วย