Page 37 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 37
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
30
ความเข้าใจกับเกษตรกร โดยแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดี และ
ต้องการปรับเปลี่ยนการผลิตควรเป็นพืชไร่ เพื่อในอนาคตยังสามารถกลับมาทำนาได้อีก
3) พื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้ที่ดิน
ปลูกข้าวอยู่ ทั้งนี้ควรให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม
โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืช
ชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคใน
ครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้
ใช้พื้นที่ปลูกข้าว พบว่า เกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่ และในอนาคต
ข้าวราคาดี เกษตรกรอาจกลับมาปลูกข้าวได้เหมือนเดิม แต่หากเป็นไม้ผล/ไม้ยืนต้น การกลับมาปลูก
ข้าวอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้นอาจส่งเสริมในเรื่องของการทำเกษตรรูปแบบอื่น เช่น ทำการเกษตรแบบ
ผสมผสานทดแทน
4.2 อ้อยโรงงาน
1) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงานอยู่
มีเนื้อที่ 184,747 ไร่ กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอสองพี่น้อง อำเภออู่ทอง และอำเภอเดิมบางนางบวช
ตามแผนยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2560 - 2564
มียุทธศาสตร์ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย การบริหารจัดการ และการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต
อุตสาหกรรม อ้อยน้ำตาลทราย และอุตสาหกรรม เน้นให้มีการเพิ่มผลผลิตอ้อยโรงงานในพื้นที่ที่มี
ศักยภาพสูง แต่เน้นลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์แบบคุณภาพสูง มีการเก็บเกี่ยว
ผลผลิตโดยการรณรงค์ลดการเผาตอซังเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดปัญหาภาวะโลกร้อน หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องคิดค้นเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องจักรเพื่อลดปัญหาแรงงาน ส่งเสริมให้เกษตรกร
รวมกลุ่มและเข้าร่วมระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จัดหาปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกร และ
อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่มีการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมให้มีการปลูก
อ้อยโรงงานที่มีสายพันธุ์ต้านทานโรค สร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรที่มี
พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูงในการปลูกอ้อยโรงงาน เพื่อแก้ไขปัญหาการปรับเปลี่ยนพื้นที่
2) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูก
อ้อยโรงงานอยู่ มีเนื้อที่ 87,196 ไร่ กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอด่านช้าง อำเภอหนองหญ้าไซ และอำเภอ
เดิมบางนางบวช พัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้มากขึ้น ในเรื่องของคุณภาพดินและการบริหารจัดการน้ำ
ให้มีเพียงพอและเหมาะสมต่อการเพาะปลูก สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการจัดการ