Page 36 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               29







                       ขึ้นจะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการดํารงชีพ จากฐานข้อมูล
                       Agri-Map Online จังหวัดสุพรรณบุรีมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพรได้

                       หลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน บัวบก เป็นต้น

                             ขมิ้นชัน เป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี

                       ไม่ชอบน้ำขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ โดยพื้นที่จังหวัด
                       สุพรรณบุรีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกขมิ้นชันที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 7,306 ไร่


                             บัวบก ขยายพันธุ์ได้โดยใช้เมล็ด และใช้ลำต้นหรือที่เรียกว่าไหล บัวบกสามารถขึ้นได้ดีทั้งใน
                       ที่ร่ม และที่โล่งแจ้ง แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความชื้นในดินพอเหมาะ

                       ในกรณีที่ต้องการปรับปรุงดินควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก ดูแลง่าย สามารถปลูกแซมระหว่างแปลง

                       โดยพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกบัวบกที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ
                       266,986 ไร่


                       4  แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ

                         4.1  ข้าว

                             1) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่ 1,160,216

                       ไร่ กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอบางปลาม้า อำเภอเมืองสุพรรณบุรี และอำเภอสองพี่น้อง และกระจาย

                       ตัวทุกอำเภอ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวน

                       ให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำชลประทาน การจัดการดิน ปุ๋ย
                       พันธุ์ข้าว มีการรวมกลุ่มเป็นระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจรด้าน

                       การตลาดในและต่างประเทศ การแปรรูป แหล่งทุน ภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้าเกษตร

                       อินทรีย์ และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) และเนื่องจากเป็น

                       พื้นที่ศักยภาพสูง การปลูกพืชหลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน ทั้งนี้

                       ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกร โดยแนะนำว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อ
                       การปลูกข้าวจึงไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดี ถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควร

                       เป็นพืชไร่ เพื่อในอนาคตจะได้กลับมาทำนาได้อีก

                             2) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่

                       44,574 ไร่ กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอดอนเจดีย์ และอำเภออู่ทอง และกระจาย

                       ตัวทุกอำเภอ ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น ชลประทาน จะสร้างความมั่นใจให้กับ

                       เกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นจะลดลง และพื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสม

                       สำหรับการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรแม่นยำหรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น ภาครัฐควรให้ความรู้
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41