Page 35 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               28







                       1) กลุ่มส่งเสริมเกษตรอู่ทอง เกษตรกรเข้าร่วม จำนวน 10 คน พื้นที่ 102.25 ไร่ พันธุ์ข้าวที่ปลูก ได้แก่
                       ขาวดอกมะลิ105 ปทุมธานี1 มะลิแดง ไรซ์เบอร์รี่ และ 2) วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน

                       เกษตรกรเข้าร่วม จำนวน 8 คน พื้นที่ 100.75 ไร่ พันธุ์ข้าวที่ปลูก ได้แก่ ปทุมธานี1 กข69 สินเหล็ก
                       หอมธรรมศาสตร์ มะลิแดง ขาวดอกมะลิ105 ไรซ์เบอร์รี่


                         3.3  มะม่วงน้ำดอกไม้ เป็นมะม่วงที่นิยมรับประทานสุก ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
                       โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากผลสุกมีสีเหลืองทอง สวยงาม เนื้อมีสีเหลืองอมครีม เนื้อแน่น

                       ปานกลาง มีความนุ่ม และรสหวาน นิยมรับประทานเป็นผลไม้สุกหรือใช้ทำขนมหวาน เช่น

                       ข้าวเหนียวมะม่วง ไอศกรีม และแยม เป็นต้น พันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้ที่นิยม คือ น้ำดอกไม้สีทองและ
                       น้ำดอกไม้เบอร์ 4 มะม่วงน้ำดอกไม้เป็นที่นิยมปลูกและมีความต้องการทางตลาดสูง ซึ่งโดยธรรมชาติ

                       เป็นพันธุ์ที่ออกเร็ว ดอกดก แต่ติดผลปานกลาง สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ เติบโตเร็ว ไม่ต้องการดูแลมาก
                       ทนต่อโรคและแมลง ทนแล้ง รวมถึงตอบสนองต่อการบังคับให้ติดผลนอกฤดูได้ดี แต่ผลดิบมีรสเปรี้ยวมาก

                       ผลสุกมีความหวานน้อยกว่ามะม่วงอื่น ๆ มีกลิ่นหอมน้อย ผลสุกมีเปลือกบาง ทำให้บอบช้ำง่าย

                       เวลาขนส่ง จากข้อมูลการใช้ที่ดิน พ.ศ. 2564 พบว่า จังหวัดสุพรรณบุรีมีพื้นที่ปลูกมะม่วง 82,245 ไร่
                       หรือคิดเป็นร้อยละ 2.46 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ส่วนใหญ่ปลูกอยู่ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอ

                       ศรีประจันต์ อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอสามชุก และอำเภอเดิมบางนางบวช

                         3.4  กุ้งก้ามกราม ส่วนใหญ่เลี้ยงกุ้งก้ามกรามกันมากในอำเภอดอนเจดีย์ อำเภอบางปลาม้า และ

                       อำเภอสองพี่น้อง จากข้อมูลสำนักงานประมงจังหวัดสุพรรณบุรี สถานการณ์กุ้งก้ามกรามจังหวัด

                       สุพรรณบุรี ใน พ.ศ. 2561 มีเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม จำนวน 850 ราย พื้นที่
                       เลี้ยง รวม 11,974 ไร่ ได้ผลผลิต 2,895 ตัน มีมูลค่า 521 ล้านบาท ปัญหาของการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม

                       คือ มีอัตราการรอดต่ำ โตช้า และใช้เวลาเลี้ยงนาน ขาดแคลนลูกพันธุ์ที่มีคุณภาพและลูกพันธุ์มีราคา
                       สูง อาหารกุ้งราคาแพง แรงงานหายากและค่าแรงสูง ส่วนแนวทางการพัฒนาควรพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง

                       ก้ามกรามให้มีคุณภาพดี เพื่อให้มีอัตรารอดสูงและโตเร็ว และเพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร

                       ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิควิธีการคัดแยกเพศลูกกุ้งก้ามกราม เพื่อการเลี้ยงกุ้งเพศผู้อย่างเดียว ทำให้
                       เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเพราะราคากุ้งเพศผู้มีราคาสูงกว่า และใช้เวลาเลี้ยงน้อยลง แต่ยังไม่

                       แพร่หลาย

                         3.5  พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green

                       Economy) หรือเศรษฐกิจชีวภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่ง
                       ที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสาระสำคัญที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น

                       การแพทย์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกใน

                       พ.ศ. 2564 โดยดำเนินการภายใต้ตลาดนำการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวมาก
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40