Page 38 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               31







                       พื้นที่ การปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของเสียจากโรงงานน้ำตาล
                       และการนําของเสียจากโรงงานน้ำตาลไปใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินในไร่อ้อย เพื่อเพิ่มผลผลิตและ

                       ลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยโดยไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และชุมชนชาวไร่อ้อย

                             3) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร

                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกอ้อยโรงงานอยู่ ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่

                       ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผักบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม
                       (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น จัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชผักทดแทน โดยอาจเริ่ม

                       จากตลาดชุมชน

                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกอ้อยโรงงานแต่เกษตรกรหันมา

                       ปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล ไม้ยืนต้น มันสำปะหลัง หรือพืชไร่อื่น ๆ ควรสร้างความ

                       เข้าใจให้กับเกษตรกรในการบริหารจัดการพื้นที่ และการปรับปรุงบำรุงดินไม่ให้เสื่อมโทรม

                       หากเกษตรกรต้องการกลับมาใช้พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานเหมือนเดิม จะได้ไม่ต้องมีต้นทุนการผลิตสูง
                       ในการปรับปรุงบำรุงดิน


                         4.3  มันสำปะหลัง

                             1) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกมันสำปะหลังอยู่ มี

                       เนื้อที่ 1,736 ไร่ กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอด่านช้าง และอำเภออู่ทอง ตามมาตรการยุทธศาสตร์

                       มันสำปะหลัง พ.ศ. 2564 - 2567 เน้นให้เกษตรกรเข้าถึงพันธุ์มันสำปะหลังต้านทานโรคใบด่าง
                       (Cassava Mosaic Disease: CMD) ให้เชื้อแป้งสูงและมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ไม่ต่ำกว่า 5 ตัน ภายในปี

                       พ.ศ. 2567 นั้น เน้นให้มีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง แต่เน้นลดต้นทุน

                       การผลิต เร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาโรคโคนเน่าหัวเน่าและโรคใบด่างมันสำปะหลัง ส่งเสริมการทำ

                       ระบบน้ำหยดในพื้นที่ที่มีศักยภาพ การปรับปรุงบำรุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

                       ทำการวิเคราะห์คุณภาพดินอยู่เสมอ ส่งเสริมเกษตรกรแปรรูปมันสำปะหลังเบื้องต้นเพื่อเพิ่มมูลค่า
                       อาทิ การแปรรูปมันเส้นสะอาด สร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกรและโรงงานเพื่อวางแผนการขุด

                       ของเกษตรกร ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วงอายุและระยะเวลาที่เหมาะสม ใช้ท่อนพันธุ์

                       ที่ต้านทานโรคและให้ผลผลิตสูง เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และ

                       ส่งเสริมให้เกษตรกรเป็น Smart Farmer

                             2) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูก

                       มันสำปะหลังอยู่ มีเนื้อที่ 15,111 ไร่ กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเดิมบางนางบวช อำเภอด่านช้าง และ
                       อำเภออู่ทอง ควรพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้มากขึ้นในเรื่องของคุณภาพดิน และทำการตรวจวิเคราะห์
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43