Page 39 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               32







                       คุณภาพดินอยู่เสมอ ส่งเสริมให้มีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินซึ่งอาจต้องใช้ปุ๋ยสั่งตัด สร้างความรู้
                       ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการจัดการพื้นที่ การปลูก การดูแลรักษา การป้องกันโรค แมลงศัตรูพืช

                       และการเก็บเกี่ยว ส่งเสริมการใช้ท่อนพันธุ์ที่ต้านทานโรคและให้ผลผลิตสูง พัฒนาระบบน้ำหยดและ

                       การใช้น้ำจากแหล่งน้ำในพื้นที่ ส่งเสริมเกษตรกรแปรรูปมันสำปะหลังเบื้องต้นเพื่อเพิ่มมูลค่า อาทิ

                       การแปรรูปมันเส้นสะอาด ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วงอายุและระยะเวลาที่เหมาะสม

                             3)  พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบัน
                       เกษตรกรยังคงใช้ที่ดินปลูกมันสำปะหลังอยู่ ทั้งนี้ควรให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้

                       โดยส่งเสริมและสร้างความรู้ความเข้าใจในการไถระเบิดดินดาน ให้เกษตรกรมีวิธีป้องกันและแก้ไข

                       ปัญหาเพื่อลดต้นทุน ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในการเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
                       หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม

                       (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น จัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชไร่หรือพืชผักทดแทน โดย
                       อาจเริ่มจากตลาดชุมชน

                                4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง แต่ปัจจุบัน

                       เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง พบว่า เกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ข้าว หรือพืชไร่อื่น ๆ
                       เป็นต้น ควรสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการบริหารจัดการพื้นที่ และการปรับปรุงบำรุงดินไม่ให้

                       เสื่อมโทรม

                         4.4  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                               1) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูก

                       ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ มีเนื้อที่ 26 ไร่ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอ
                       แผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหาร

                       จัดการระบบน้ำ การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยรวมกลุ่มเป็นระบบส่งเสริมการเกษตร
                       แบบแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศ ภาครัฐสนับสนุนการทำ

                       มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์และ GAP เนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง ภาครัฐควรให้ความรู้ความ

                       เข้าใจกับเกษตรกร โดยแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากราคาไม่ดีหรือประสบ
                       ปัญหาโรคและแมลงรบกวน และเกษตรกรต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเปลี่ยนเป็นพืชไร่ เพื่อในอนาคต

                       จะได้กลับมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้อีก

                               2) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูก
                       ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ มีเนื้อที่ 19,569 ไร่ กระจายตัวมากอยู่ในอำเภออู่ทอง อำเภอด่านช้าง และอำเภอ

                       สองพี่น้อง ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการระบบน้ำ เช่น ชลประทาน สร้างความมั่นใจให้กับ

                       เกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นจะลดลง และพื้นที่ในเขตนี้มีความ
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44