Page 34 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               27







                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด

                         3.1  แห้วสุพรรณ เป็นพืชที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงของจังหวัด ซึ่งเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทาง

                       ภูมิศาสตร์ หรือ Geographical Indications: GI แห้วสุพรรณเป็นแห้วพันธุ์จีน ผลมีลักษณะกลมคล้าย
                       หอมหัวใหญ่ มีรสชาติหวานมัน เนื้อแน่นกรอบสีขาว พื้นที่ปลูกแห้วกระจายอยู่ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี

                       และอำเภอศรีประจันต์ สภาพดินในเขตนี้เป็นชุดดินสระบุรีและชุดดินสระบุรีไฮเฟต เนื้อดินบนเป็น

                       ดินเหนียว ดินล่างเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดพวกตะกอนลำน้ำ
                       เป็นดินลึกมาก ทำให้เก็บกักน้ำได้ดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง และมีปริมาณโพแทสเซียมสูง

                       ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แห้วสุพรรณมีผลขนาดใหญ่ เนื้อแน่น มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ จังหวัด

                       สุพรรณบุรีขึ้นทะเบียน GI แห้วสุพรรณต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อปี พ.ศ. 2560 เพื่อให้
                       GI แห้วสุพรรณเป็นสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค โดยมีผู้ผลิตและ

                       ผู้ประกอบการค้าแห้วสุพรรณขึ้นทะเบียน ขอใช้ตราสัญลักษณ์ GI แห้วสุพรรณ จำนวน 157 ราย และมี
                       ผู้ได้รับการอนุญาต จำนวน 37 ราย เป็นระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2563


                         3.2  ข้าวอินทรีย์ ปัจจุบันสถานการณ์การส่งออกข้าวมีภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นทั้งตลาดภายใน
                       และภายนอกประเทศ ประกอบกับหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียมีศักยภาพในการ

                       ผลิตข้าวที่สูงขึ้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ด้วยต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าประเทศไทย ทําให้ส่งผล

                       กระทบต่อราคาการจําหน่ายข้าวไปยังต่างประเทศของไทยที่มีราคาแพงกว่าประเทศอื่น ๆ ในระดับ
                       คุณภาพที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีการพัฒนาระบบ

                       มาตรฐานการผลิตข้าว และเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นในการผลิตข้าวที่ได้รับการ
                       รับรองมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล การผลิตข้าวตามข้อกําหนดมาตรฐานข้าวอินทรีย์และ

                       ได้รับการรับรองมาตรฐาน จึงสามารถตอบสนองผู้บริโภคกลุ่มดูแลสุขภาพ ใส่ใจกับการรับประทาน

                       อาหารปลอดสารเคมีมากขึ้นได้ ซึ่งนับวันจะมีจํานวนเพิ่มขึ้น โดยในปัจจุบันปริมาณผลผลิตสินค้า
                       เกษตรอินทรีย์ในระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee Systems: PGS) และ

                       ระบบมาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มกษ.9000 เล่ม 4 ปี 2553) สํานักงานมาตรฐาน

                       เกษตรอินทรีย์ไทย (มกท.) และ the International Federation of Organic Agriculture
                       Movements (IFOAM) ประมาณ 240,000 ไร่ โดยเป็นข้าวอินทรีย์ในระบบมาตรฐานกระทรวง

                       เกษตรและสหกรณ์ จํานวน 60,000 ไร่ นอกจากนี้การผลิตข้าวอินทรีย์ยังเป็นการรักษาสภาพแวดล้อม

                       ให้มีความสมดุล ไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อสุขภาพ และลดการถูกกีดกันทางการค้าของประเทศ
                       ต่าง ๆ ที่ใส่ใจสภาพแวดล้อม ซึ่งทําให้ประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวอินทรีย์ไปจําหน่ายยัง

                       ต่างประเทศได้มากขึ้น โดยภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2564
                       จังหวัดสุพรรณบุรีมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 2 กลุ่มเกษตรกร คือ
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39