Page 33 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               26







                       ตารางที่ 10  พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                                                อ้อยโรงงาน (ไร่)                     ข้าว (ไร่)
                           อำเภอ
                                         S3          N          รวม         S3          N         รวม

                       เมืองสุพรรณบุรี     128           -        128       4,017          -       4,017
                       สองพี่น้อง            -           -          -           -          -           -
                       บางปลาม้า             -           -          -           -          -           -

                       เดิมบางนางบวช    46,548           -     46,548      14,156          -      14,156
                       อู่ทอง           59,794           -     59,794       6,615        535       7,150
                       ศรีประจันต์           -           -          -           -          -           -

                       ด่านช้าง         85,910           -     85,910        809          53        862
                       สามชุก            1,701           -      1,701      18,073          -      18,073
                       หนองหญ้าไซ       46,375           -     46,375      11,863          -      11,863

                       ดอนเจดีย์         4,186           -      4,186       7,547          -       7,547
                            รวม        244,642           -    244,642      63,080        588      63,668


                             4) แนวทางการจัดการ

                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้

                       เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อไป เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต
                       และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่

                       การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่

                       เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูก

                       ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งควรสงวนไว้เป็น

                       แหล่งปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญของจังหวัด กระจายตัวอยู่ในอำเภอเดิมบางนางบวช อำเภออู่ทอง
                       และอำเภอสามชุก

                                 พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูก
                       ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เช่น

                       ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ำ กระจายตัวอยู่ในอำเภออู่ทอง อำเภอ

                       ด่านช้าง และอำเภอสองพี่น้อง
                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้

                       เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกข้าวโพด
                       เลี้ยงสัตว์ มีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38