Page 28 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
21
ตารางที่ 8 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตมันสำปะหลัง
อ้อยโรงงาน (ไร่) ข้าว (ไร่)
อำเภอ
S3 N รวม S3 N รวม
เมืองสุพรรณบุรี 128 - 128 4,017 - 4,017
สองพี่น้อง - - - - - -
บางปลาม้า - - - - - -
เดิมบางนางบวช 46,581 - 46,581 14,156 3 14,159
อู่ทอง 37,659 - 37,659 6,615 1,579 8,194
ศรีประจันต์ - - - - - -
ด่านช้าง 62,994 - 62,994 809 1 810
สามชุก 1,701 - 1,701 18,073 - 18,073
หนองหญ้าไซ 46,376 - 46,376 11,863 - 11,863
ดอนเจดีย์ 4,186 - 4,186 7,547 - 7,547
รวม 199,625 - 199,625 63,080 1,583 64,663
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังต่อไป เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและ
ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอด
โครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูก
มันสำปะหลังในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งควรสงวนไว้เป็น
แหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญของจังหวัด กระจายตัวอยู่ในอำเภอด่านช้าง และอำเภออู่ทอง
พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูก
มันสำปะหลังในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกมันสำปะหลัง เช่น ความอุดม-
สมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง และความชื้น กระจายตัวอยู่ในอำเภอเดิมบางนางบวช อำเภอ
ด่านช้าง และอำเภออู่ทอง
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูก
มันสำปะหลัง มีต้นทุนที่ต่ำและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย