Page 43 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุดรธานี
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               36







                         3.4 ไผ่บงหวาน
                              ปัจจุบันไผ่บงหวานเพชรน้ าผึ้ง นับเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าสนใจของเกษตรกร เนื่องจาก
                       ปลูกครั้งเดียวสามารถให้ผลผลิตได้ทั้งปี หากมีน้ าเพียงพอ ซึ่งไผ่บงหวานสามารถรับประทานสดได้
                       ทันที หรือน าไปประกอบอาหารแทนเมนูมะพร้าวได้ทุกเมนู ไม่ต้องน ามาต้มเพื่อให้รสขมของหน่อไม้

                       หายไป ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของไผ่พันธุ์นี้  และยังตอบโจทย์ส าหรับผู้ที่เป็นโรคเกาต์ ที่ชอบ
                       รับประทานไผ่  เพราะจากการตรวจสอบทางเคมี พบว่า ไม่มีสารยูริก ไม่มีสารไซยาไนด์ที่จะกระทบ
                       ต่อผู้ป่วยโรคเกาต์  อีกทั้งเกษตรกรสามารถผลิตแบบอินทรีย์ได้ง่าย เพราะไม่มีโรคแมลงรบกวน
                       ประกอบกับราคายังเป็นที่จูงใจ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ กิโลกรัมละ 70 บาท

                              พืชทางเลือกในพื้นที่ พบว่า ปัจจุบันเกษตรกรที่ปลูกไผ่บงหวานยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เพราะ
                       ไม่มีความมั่นใจด้านราคา ขาดความรู้ด้านการผลิตและตลาด แต่เป็นพืชทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจาก
                       ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก โดยราคากิ่งพันธุ์ ที่ลงทุนซื้อมาปลูกช่วงแรก
                       อาจสูง เพราะราคาอยู่ที่ประมาณ 100 บาทต่อเหง้า แต่เมื่อเริ่มให้ผลผลิตจะมีพ่อค้าเข้ามารับซื้อถึงสวน

                       ท าให้มีรายได้ 91,000 บาทต่อไร่ (อัตราการปลูกไร่ละ 200 กอ) ในขณะที่ต้นทุนทั้งหมด 28,693 บาทต่อ
                       ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการให้น้ าค่าปุ๋ย และค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยว ซึ่งเมื่อหักลบแล้ว
                       คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ 62,307 บาทต่อไร่

                               ส าหรับไผ่บงหวานเพชรน้ าผึ้ง เป็นไผ่ขนาดกลางใช้ประกอบเป็นอาหารได้หลายประเภท อาทิ
                       แกง ผัด ต้ม ท าส้มต า  โดยล าต้นเมื่อโตเต็มที่จะสูง 7-12 เมตร หน่อจากต้นที่โตเต็มที่มีน้ าหนักเฉลี่ย
                       200 กรัม หรือ 4-5 หน่อต่อกิโลกรัม มีสีเขียว การขยายพันธุ์สามารถท าได้ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
                       และปลูกด้วยเหง้า ควรมีความพร้อมในเรื่องแหล่งน้ า (ช่วงฤดูแล้งขาดน้ าไม่ได้) จึงจะท าให้มีผลผลิตได้ทั้งปี
                       และการลงทุนในระยะแรกในเรื่องระบบน้ าและพันธุ์ค่อนข้างสูง ต้องการการดูแลที่สม่ าเสมอ สามารถ

                       ท าการผลิตแบบชีวภาพได้ โดยไม่จ าเป็นต้องใช้สารเคมีใดๆ
                         3.5 พืชสมุนไพร
                           ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green Economy)

                       หรือ เศรษฐกิจชีวภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่งที่ได้รับความ
                       สนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสารส าคัญที่น าไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ ผลิตภัณฑ์
                       เสริมอาหาร และเครื่องส าอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกในปี 2564 โดยด าเนินการ
                       ภายใต้ตลาดน าการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วยให้เกษตรกร

                       ผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการด ารงชีพจากฐานข้อมูล Agri-Map Online จังหวัด
                       อุดรธานี มีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพรได้หลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน กระชายด า
                       เป็นต้น
                           ขมิ้นชัน เป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ าดี

                       ไม่ชอบน้ าขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และมีรายได้
                       ระหว่างรอการเติบโตของพืชหลักได้ โดยพื้นที่จังหวัดอุดรธานีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกขมิ้นชันที่
                       ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 1,020,554 ไร่ กระจายอยู่ในอ าเภอบ้านผือ อ าเภอวังสามหมอ
                       อ าเภอกุดจับ อ าเภอโนนสะอาด อ าเภอกุมภวาปี อ าเภอหนองหาน อ าเภอบ้านดุง อ าเภอน้ าโสม
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48